Page 96 -
P. 96
ิ
์
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
94
ภาพที่ 2-14 ปฏิกิริยาการสังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิด
จากปฏิกิริยาจะเห็นได้ว่ากลูทาเมตดีไฮโดรจีเนสมีความสาคัญในการควบคุมเมตาบอลิซึมของ
กรดอะมิโน เอนไซม์นี้เป็นอัลโลสเทริก เอนไซม์ที่มี ATP, GTP และ NADH เป็นสารยับยั้งการท างาน
+
และมี ADP, GDP รวมทั้งกรดอะมิโนบางชนิด เป็นสารกระตุ้นเมื่อปฏิกิริยาขจัดหมู่อะมิโนเกิดควบคู่กับ
ปฏิกิริยาการโยกย้ายหมู่อะมิโนนั้น หมู่อะมิโนของกรดอะมิโนต่างๆ สามารถถูกขจัดออกได้หมดในรูป
ของแอมโมเนีย โดยหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหล่านั้นถูกเปลี่ยนเป็นหมู่อะมิโนของกรดกลูทามิกโดย
ปฏิกิริยาการย้ายหมู่อะมิโนก่อนแล้วจึงเกิดปฏิกิริยาขจัดหมู่อะมิโนของกรดกลูทามิกออกในรูป
แอมโมเนีย
-เอนไซม์อะมิโนแอซิก ออกซิเดส (Amino acid oxidase)
เอนไซม์อะมิโนแอซิก ออกซิเดส (Amino acid oxidase) เป็นเอนไซม์ที่ท าหน้าที่เร่งปฏิกิริยา
การขจัดหมู่ -อะมิโนของกรดอะมิโนรูปแอมโมเนีย โดยมีฟลาโวโปรตีนเป็นโคเอนไซม์ เอนไซม์นี้ท า
หน้าที่ออกซิไดส์หมู่ –อะมิโนของกรดอะมิโนได้เป็น -อะมิโน (-amino) ที่ไม่เสถียร สามารถสลาย
ต่อได้เป็นกรดคีโท ส าหรับหมู่อะมิโนหลุดออกในรูปแอมโมเนียนั่นคือ ผลผลิตของปฏิกิริยาได้แก่ กรดคี
โทและแอมโมเนีย ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (H 2O 2) ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาบางส่วนถูกน าไปใช้ในการ
ออกซิไดซ์สารบางชนิด แต่เนื่องจาก H 2O 2 เป็นพิษต่อเซล ดังนั้นส่วนใหญ่จึงถูกท าลายอย่างรวดเร็วให้
กลายเป็นน้ าและออกซิเจน โดยใช้เอนไซม์แคทาเลส (Catalase)
ในธรรมชาติพบเอนไซม์นี้ทั้ง 2 รูป คือทั้ง D- และ L- โดยที่ D-อะมิโนแอซิดออกซิเดส ใช้ FAD
เป็นโคเอนไซม์ พบในส่วนเพอร์ออกซิโซม ขณะที่ L-อะมิโนแอซิกออกซิเดส ใช้ FMN เป็นโคเอนไซม์พบ
ในเอนโดพลาสมิกเรติคิวรัมของเซลตับและไต กรดอะมิโนส่วนใหญ่ในร่างกายเป็นชนิด L- ดังนั้นความ
สาคัญของอะมิโนแอซิกออกซิเดส ในร่างกายยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าร่างกายใช้เอนไซม์นี้ในการท าลาย
กรดอะมิโนชนด D ที่ได้จากเปปทิโดไกลแคนของผนังเซลของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ
ิ
บทที่ 2 สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์