Page 93 -
P. 93

ิ
                                              ิ
                                                ์
                                   ื
                                                                 ิ
                                                                           ิ
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           91

                                                                                                  ้
                  เป็นกรดอะมิโนอิสระ  มีเพียงส่วนน้อยที่ยังคงเป็นเปปไทด์หรือโปรตีนเนื่องจากไม่สามารถย่อยได  เช่น
                  โปรตีนเส้นใยจะถูกขับออกนอกร่างกาย การดดซึมของกรดอะมิโนอิสระเกิดขึ้นบริเวณล าไส้เล็กมีทั้งแบบ
                                                        ู
                  การซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (Passive transport) จากบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าและแบบที่เกี่ยวข้อง
                  กับการขนส่งโซเดียมและต้องการพลังงาน ATP (Active transport) วิธีนี้เปปไทด์ขนาดเล็กสามารถดูด

                  ซึมเข้าสู่เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารได้และถูกย่อยต่อภายในเซลได้เป็นกรดอะมิโนอิสระเข้าสู่กระแสเลือด

                  ต่อไป  เนื้อเยื่อต่างๆ  มีกลวิธีในการจับกรดอะมิโนอิสระจากกระแสโลหิตเข้าสู่เชลอย่างน้อย  4  ระบบ
                  ระบบที่ 1 เกี่ยวกับการขนส่งกรดอะมิโนที่เป็นกลาง ระบบที่ 2 เกี่ยวข้องกับกรดอะมิโนที่เป็นเบสและซิส

                  ทีน ระบบที่ 3 ระบบส่งกรดอะมิโนเป็นกรด และระบบที่ 4 เกี่ยวข้องกับการขนส่งของไกลซีนและ

                  โพรลีน  โดยที่แต่ละระบบมีการขนส่งกรดอะมิโนที่มีลักษณะจ าเพาะของระบบนั้น  ในเนื้อเยื่อบางชนิด
                  เช่น  ไต  ล าไส้และสมอง  ยังมีระบบขนส่งกรดอะมิโนที่เรียกว่า  “วัฏจักร  -กลูทามิล  (-glutamyl

                  cycle)”  (ภาพที่  2-13)  ซึ่งมีกลูทาไทโอนท าหน้าที่พากรดอะมิโน  โดยใช้หมู่กลูทามิลจับหมู่อะมิโนของ

                  กรดอะมิโนอาศัยเอนไซม์ -glutamyl transpeptidase ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ดึงกรดอะมิโนเข้าสู่เซล จากนั้น

                  กรดอะมิโนถูกตัดออกเป็นอิสระด้วยเอนไซม์ -glutamyl cyclotransferase ที่เหลือคือ 5-ออกโซ-

                  โพรลีน  (5-oxoproline)  ถูกน าไปสังเคราะห์กลูทาไธโอนใหม่  ส าหรับขนส่งกรดอะมิโนต่อๆ  ไป  การ
                  ขนส่งโดยระบบนี้ต้องการพลังงานจาก ATP 3 โมเลกุล และมีความไวต่อการขนส่งกลูทามีน ซิสอีนรวม

                  ทั้งกรดอะมิโนที่เป็นกลาง  แต่ไม่สามารถขนส่งกรดอะมิโนโพรลีนได้  การขนส่งกรดอะมิโนจ าเป็นต้อง

                  อาศัยโปรตีนจ าเพาะเป็นตัวพา































                  ภาพที่ 2-13 การขนส่งกรดอะมิโนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ล์โดยวัฏจักร -กลูทามิล



                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98