Page 90 -
P. 90

ิ
                                              ิ
                                   ื
                                                ์
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                           ิ
                                                                 ิ
                                                           88

                         3.2 ควบคุมโดยเอนไซม์ Acetyl CoA carboxylase
                         การควบคุมโดยเอนไซม์ Acetyl CoA carboxylase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาแรกของ

                  การสังเคราะห์กรดไขมัน เอนไซม์นี้จะถูกยับยั้งโดย Fatty acyl CoA ซึ่งเป็นผลิตผลของการสังเคราะห์
                  ดังนั้นถ้ามีกรดไขมันเกิดขึ้นมาก การสังเคราะห์กรดไขมันก็จะเกิดช้าลง เพราะเอนไซม์ Acetyl CoA

                  carboxylase ถูกยับยั้ง นอกจากนี้ซิเตรท (Citrate) ยังสามารถกระตุ้นการท างานของเอนไซม์ จึงท าให้

                  มีการประสานงานระหว่างคะตะบอลิสมของคาร์โบไฮเดรตและการสังเคราะห์กรดไขมันให้เป็นไปอย่าง
                  เหมาะสม



                   เมตาบอลิซึมของกรดอะมิโน (Metabolism of amino acid)
                         อาหารโปรตีนเมื่อเข้าสู่รางกายจะถูกย่อยได้เป็นกรดอะมิโนในทางเดินอาหาร   กรดอะมิโน

                  เหล่านี้ถูกดูดซึมผ่านล าไส้เล็กและส่งต่อไปยังตับ   ที่ตับกรดอะมิโนส่วนใหญ่ถูกเก็บไว้เพื่อสังเคราะห์

                  โปรตีน แล้วส่งส่วนที่เหลือไปยังอวัยวะอื่นๆ ขณะเดียวกันตับจะท าหน้าที่เติมกรดอะมิโนที่สังเคราะห์ขึ้น
                  เองเข้าสู่กระแสเลือด  เนื้อเยื่ออื่นๆก็เช่นกันจะสลายโปรตีนเพื่อส่งกรดอะมิโนเข้าสู่กระแสเลือด  ดังนั้น

                  กระแสเลือดจึงเป็นแหล่งรวมของกรดอะมิโน  ท าให้เนื้อเยื่อต่างๆสามารถดึงกรดอะมิโนจากกระแสเลือด
                  ไปใช้ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเพื่อการสังเคราะห์โปรตีนหรือชีวโมเลกุลที่ส าคัญ มีกรดอะมิโนที่เหลือเพียง

                  บางส่วนถูกสลายในตับโดยปฏิกิริยาการโยกย้ายและการขจัดหมู่อะมิโนได้เป็นกรดคีโทและสามารถเข้าสู่
                  กระบวนการเมแทบอลิซึมของลิปิดและคาร์โบไฮเดรต  ท าให้พลังงาน  ATP  ส่วนของเสียเป็นแอมโมเนีย

                  จะถูกเปลี่ยนเป็นยูเรียและขับออกทางปัสสาวะ

                         การสังเคราะห์ชีวโมเลกุลที่ส าคัญต่อการด ารงชีวิต  ถึงแม้ว่าร่างกายของสัตวจะไม่มีอวัยวะที่ท า
                                                                                        ์
                  หน้าที่สะสมกรดอะมิโนเฉพาะ  แต่มีแหล่งรวมกรดอะมิโน  (Amino  acid  pool)  ในกระแสเลือดและมี

                  ความสมดุลของกรดอะมิโนต่างๆ ท าให้มีกรดอะมิโนเพียงพอต่อความต้องการ

                         จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ พบว่า โปรตีน 1 กรัม เมื่อสลายจนสมบูรณ์จะได้พลังงาน
                  4  กิโลแคลอรี่และมีเพียง  1  ใน  4  ของอาหารโปรตีนที่ร่างกายได้รับแต่ละวันเท่านั้นที่ถูกเปลี่ยนไปเป็น

                  กลูโคส ที่เหลืออีก 3 ใน 4 ถูกน าไปสังเคราะห์เป็นโปรตีนและชีวโมเลกุลที่ส าคัญ รวมทั้งสลายเป็นสาร

                  ตั้งต้นในวัฏจักรต่างๆ  แสดงว่ากรดอะมิโนมิใช่แหล่งพลังงานที่ส าคัญ  แต่ถูกน าไปสังเคราะห์เป็นโปรตีน
                  และชีวโมเลกุลที่ส าคัญอื่นๆ


                  1. กระบวนการย่อยและการดูดซึมโปรตีน

                         เอนไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนที่สาคัญ คือ เอนไซม์เปปซิน (Pepsin) เอนไซม์ทริปซิน (Trypsin) เอม

                  ไซม์ไคโมทริปซิน (Chymotrypsin) เอนไซม์คาร์บอกซีเปปทิเทส A (Carboxy peptidase A) คาร์บอก
                  ซีเปปทิเทส B (Carboxy peptidase-B) และเอนไซม์อีลาสเทส (Elastase) เอนไซม์เหล่านี้สังเคราะห์มา


                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95