Page 87 -
P. 87

ิ
                                                ์
                                              ิ
                                                                 ิ
                                     ิ
                                   ื
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           85

                         2.2.2 ขบวนการสังเคราะห์กรดไขมันในไซโตพลาสม
                         ขบวนการสังเคราะห์กรดไขมันจาก Acetyl CoA ภายในไซโตพลาสมประกอบด้วย 5 ปฏิกิริยา

                  ได้แก่
                          -ปฏิกิริยาที่ 1 Acetyl CoA จะรวมตัวกับ CO 2 โดยใช้พลังงานจาก ATP ได้ Malonyl CoA

                  จากนั้น Acetyl CoA และ Malonyl CoA จะเกิดปฏิกิริยารวมตัวกับ ACP (Acyl carrier protein)

                  กลายเป็น Acetyl-s- ACP และ Malonyl-s-ACP โดยเอนไซม์ Acetyl CoA acetyl transferase และ
                  Malonate CoA transferase ตามล าดับ ก่อนที่จะรวมตัวกันระหว่าง Acetyl-S-ACP กับ Malonyl-S-

                  ACP

                                                                        ้
                         -ปฏิกิริยาที่ 2 ได้ Acetoacetyl-S-ACP ในขั้นตอนนี้จะได CO2 และ ACP-SH เกิดขึ้น
                         -ป ฏิ กิริยาที่  3 Acetoacetyl-S-ACP จะถูกรีดิวซ์ด้วย NADPH ให้ กลายเป็ น  B–

                  Hydroxybutyryl-S-ACP และถูกเปลี่ยนให้เป็น Crotonyl-S-ACP

                         -ปฏิกิริยาที่ 4 และในปฏิกิริยาที่ 5 พันธะคู่จะถูกรีดิวซ์ด้วย NADPH ได้ Butyryl-S-ACP ซึ่งสาร
                  นี้สามารถเข้าสู่ปฏิกิริยาที่ 2 คือ รวมตัวกับ Malonyl-S-ACP อีกโมเลกุลหนึ่ง แล้วตามด้วยปฏิกิริยาที่

                  3,4 และ 5 ได้อีก เป็นการเพิ่มอะตอมคาร์บอนอีกทีละ 2 อะตอม จนกระทั่งได้จ้านวนคาร์บอนตาม
                  ต้องการ แล้ว Acyl-ACP นั้นก็จะสลายตัวให้กรดไขมันอิสระหลุดออกจากส่วน ACP เป็นที่น่าสังเกตว่า

                  ในการสังเคราะห์กรดไขมันนั้นต้องใช้ NADPH ซึ่งเป็นสารที่ได้จากวิถีเพนโตสฟอสเฟต ดังนั้นเนื้อเยื่อที่มี
                  การสังเคราะห์กรดไขมันก็จะมีการท างานของวิถีเพนโตสฟอสเฟตอยู่ด้วย



                         2.3 เมตาบอลิซึมของคีโตนบอดี  (Ketone body metabolism)
                         คีโตนบอดี้ (Ketone bodies) หมายถึงสารประกอบ 3 ชนิด คือ อะชีโตอะซิเตท

                  (Acetoacetate) อะซิโตน (Acetone) และกรดเบต้า-ไฮดรอกซีบิวทิวริค (β-Hydroxybutyric acid)

                  ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ Acetyl CoA ที่เหลือใช้ภายในตับ ให้เป็น Acetoacetyl CoA ซึ่งจะท า

                  ปฏิกิริยากับ Acetyl CoA อีกโมเลกุลหนึ่งได้ β-Hydroxy-β-methylglutaryl CoA (HMG-CoA)
                  HMG-CoA ที่ได้นี้จะสลายตัวให้ Acetyl CoA กับอะซีโตอะซีเตท ซึ่งสามารถแปรสภาพไปเป็นคีโตน

                  บอดี้อีก 2 ตัว คือ อะชิโตนและ β-Hydroxybutyric acid (ภาพที่ 2-11)

                         คีโตนบอดี้เหล่านี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในตับและถือได้ว่าคีโตนบอดี้เป็นสารที่สะสม  Acetyl  CoA
                  ท านองเดียวกันกับไขมัน เมื่อใดที่ร่างกายสัตว์ต้องการพลังงาน คีโตนบอดี้ก็จะถูกส่งออกจากตับไปยังไต

                  และกล้ามเนื้อ  เพื่อสลายให้ได้พลังงานออกมา  โดยรวมตัวกับซัควินิลโคเอ  (Succinyl  CoA)  ให้เป็น
                  Aceroacetyl CoA แล้ว Aceto acetyl CoA จะท าปฏิกิริยากับโคเอนไซม์เอ ได้ 2 Acetyl CoA ซึ่ง

                  สามารถถูกเผาผลาญต่อไปในวัฏจักรเครบส์ภายในไตและกล้ามเนื้อต่อไป




                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92