Page 95 -
P. 95

ื
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                           ิ
                                     ิ
                                                                 ิ
                                                ์
                                              ิ
                                                           93

                         โดยทั่วไปแล้วการย้ายหมู่ -อะมิโน ของกรดอะมิโนต่างๆ ในปฏิกิริยาการย้ายหมู่ -อะมิโน

                  จะได้เป็นกรดกลูทามิกและอะลานีน ทั้งนี้เพราะกรดคีโทที่มารับคือ -คีโทกลูทาเรตและไพรูเวตและใช้
                  เอนไซม์กลูทาเมตทรานสมิเนส  (Glutamate  transaminase)  และอะลานีนทรานสมิเนส  (Alanine

                  transaminase)

                         ในสัตว์ชั้นสูงมีการขจัดไนโตรเจนในยูเรียเกิดขึ้นในไมโตคอนเดรียซึ่งมีเพียงกรดกลูทามิกเท่านั้น
                  ที่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลไมโตคอนเดรียเพื่อเข้าสู่วัฏจักรยูเรีย ฉะนั้นกรดอะมิโนบางส่วนที่ถูกเปลี่ยนไป

                  เป็นอะลานีนจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นกรดกลูทามิก โดยใช้เอนไซม์กลูทาเมต อะลานีน ทรานสมิเนส




                         ปฏิกิริยาขจัดหมู่อะมิโน

                         แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ปฏิกิริยาการขจัดหมู่อะมิโนชนิดออกซิเดชัน (Oxidative
                  deamination) และปฏิกิริยาการขจัดอะมิโนชนิดไม่มีออกซิเดชัน (Non-oxidative deamination)


                         ปฏิกิริยาการขจัดหมู่อะมิโนชนิดออกซิเดชัน (Oxidative deamination) เป็นปฏิกิริยาการ

                                                                 ิ
                  ขจัดหมู่อะมิโน โดยอาศัยการท างานของเอนไซม์หลายชนดที่สาคัญ ได้แก่
                         -เอนไซม์กลูทาเมต ดีไฮโดรจีเนต (Glutamate dehydrogenase)

                         กรดอะมิโนกลูทามิกเป็นสารตัวกลางที่สาคัญในกระบวนการเมตาบอลิซึมของกรดอะมิโน โดย

                  หมู่ –อะมิโนของกรดกลูทามิกถูกดึงออกในรูปแอมโมเนีย (ภาพที่ 2-14) โดยใช้เอนไซม์กลูทาเมตดี

                  ไฮโดรจีเนตเร่งปฏิกิริยาในตับ ถ้าปฏิกิริยาเกิดที่ไซโตพลาสึมของตับใช้ NAD  เป็นโคเอนไซม์ แต่ถ้าเกิดในไม
                                                                              +
                                    +
                  โตคอนเดรียใช้ NADP  เป็นโคเอนไซม์ จากปฏิกิริยาจะเห็นว่าเป็นปฏิกิริยาย้อนกลับได้ ทั้งปฏิกิริยาจะไป
                  ทางซ้ายหรือทางขวาขึ้นอยู่กับปริมาณของกรดกลูทามิกหรือ -คีโทกลูทาเรต ฉะนั้นนอกจากจะเป็น

                  ปฏิกิริยาขจัดหมู่อะมิโนแล้วยังเป็นการสังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิด (ปฏิกิริยาจากขวาไปซ้าย)

                         นอกจากนี้การสังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิดสามารถกระท าได้โดยใช้หมู่อะมิโนหรือแอมโมเนีย
                  ที่มาจากกรดอะมิโนอื่นและถึงแม้จะไม่มีเอนไซม์การย้ายหมู่อะมิโนจ าเพาะต่อกรดอะมิโนก็สามารถ

                  สังเคราะห์กรดอะมิโนชนิดนั้นได้ โดยการเกิดปฏิกิริยาการควบคู่กับปฏิกิริยาของเอนไซม์กลูทาเมตทราน
                  มิเนส














                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100