Page 41 -
P. 41
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ิ
์
39
์
ต่อความร้อนจากกระบวนการอัดเม็ดอาหารสัตว์ ดังนั้นในการผลิตอาหารสัตวจึงนิยมใช้ไวตามินซีในรูป
Monophosphate ซึ่งทนต่อความร้อนได้ดีกว่า
โคลีนและบีเทน (Choline and Betain)
โคลีนเป็นไวตามินบีชนิดหนึ่ง สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ
ฟอส-ฟาติดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) หรือเลซิทิน (Lecithin) ซึ่งเป็นกลุ่มของฟอสฟอลิปิด
(Phospholipid) โคลีนบริสุทธิ์จะอยู่ในรูปของ “β-hydroxyethyl trimethylammonium
hydroxide” แต่เกลือโคลีนที่ใช้เสริมในอาหารจะอยู่ในรูปของโคลีนคลอไรด์ ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกใสสี
ขาว มีคุณสมบัติชอบดูดน้ ามากและเป็นด่างจัด
บทบาทของโคลีน
-โคลีนเป็นส่วนประกอบของอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งมีบทบาทส าคัญในการ
เป็นสารสื่อประสาทที่สมอง (Parasympathetic nervous system) ตัวอย่างเช่น อะซีติลโคลีน
(Acetylcholine) มีผลท าให้หัวใจเต้นช้าลงเมื่อจ าเป็น
-โคลีนในร่างกายส่วนมากอยู่ในรูปของเลซิติน (Lecithin) และสฟริงโกลไมอีลิน
(Sphingomyelin) คือ รวมอยู่กับฟอสฟอลิพิด (Phospholipid) ช่วยป้องกันการเกิดโรค Perosis
-โคลีนท าหน้าที่เป็น “Methyl group donor” หรือสารให้หมู่เมทิล (Methyl group)
แก่สารอื่น ส าหรับปฏิกิริยาการสร้างกรดอะมิโนเมทไธโอนีนจากโฮโมซีสตีน (Homocystine) ซึ่งได้มา
จากเมทไธโอนีน ดังนั้นถ้าในอาหารสัตว์มีเมทไธโอนีนสูง จะท าให้ความต้องการโคลีนของสัตว์ลดน้อยลง
แหล่งของโคลีน คือ จากอาหาร เช่น ตับ ปลาป่น ยีสต์ ไข่แดง ถั่วเหลือง ใบพืชสีเขียวและเมล็ด
ธัญพืช
สัตว์สามารถสร้างขึ้นเองได้ คุณสมบัตินี้ท าให้โคลีนต่างจากไวตามินชนิดอื่น ซึ่งสัตว์ไม่สามารถ
สร้างขึ้นได้ ตับของสัตว์จะสามารถสร้างโคลีนได้โดยการรวม Ethanolamine ซึ่งได้จากกรดอะมิโนเซอ
รีนกับหมู่เมทิล 3 ตัว ซึ่งได้จากสารที่ให้หมู่เมทิล เช่น กรดอะมิโนเมทไธโอนีน
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์