Page 38 -
P. 38

ิ
                                   ื
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                ์
                                                                 ิ
                                                                           ิ
                                              ิ
                                                           36

                  ถึง 96% ในเวลา 12 ชั่วโมง ถ้าในอาหารมีไวตามินอี จะช่วยลดการสูญเสียไบโอตินลงเหลือเพียง 40%

                  ใน 48 ชั่วโมง


                         บทบาทของไวตามินบี  7  คือ  ท าหน้าที่เปนโคเอนไซม์  (Co-enzyme)  ในขบวนการเผาผลาญ
                                                            ็
                  ไขมัน (Lipid metabolism) หรือการสร้างกรดไขมัน (Fatty acids) โดยที่ไวตามินบี 7 จะจับ Co 2 แล้ว

                  ส่งให้กับตัวรับ โดยอาศัยการเร่งปฏิกิริยาของ Biocytin และ ATP ได้เปน Carboxybiocytin จากนั้นจึง
                                                                             ็
                  ส่งต่อให้กับตัวรับเอนไซม์ Carboxylase ไวตามินบี 7 มีบทบาทต่อขบวนการ Deamination ในเมตาบอลิ

                  ซึมของกรดอะมิโน  นอกจากนี้ยังเป็นโคเอนไซม์ในกระบวนการสร้างสารไพริมิดีน  (Pyrimidine)  ซึ่งเป็น

                  สารตั้งต้นที่ร่างกายน าไปใช้ในการสร้างกรดนิวคลีอิค (Nucleic acid) หรือ DNA และ RNA ซึ่งเป็นสาร

                  พันธุกรรมต่อไป


                         แหล่งของไวตามินบี 7 คือ ไวตามินบี 7 มีมากในตับ ยีสต์ กากน้ าตาล ถั่วลิสง ไข่ ใบไม้สีเขียว

                  กากถั่วเหลืองและข้าวโพด  จะมีค่าการใช้ประโยชน์ได้สูง  แต่ในข้าวบาร์เล่ย์  ข้าวฟ่าง  ข้าวโอ๊ตและข้าว

                  สาลี จะมีค่าการใช้ประโยชน์ได้ต่ า แต่ในวัตถุดิบที่ได้จากสัตว์จะมีไวตามินบี 7 อยู่น้อย ไวตามินบี 7 ที่

                  พบอยู่ในธรรมชาติมี 2 รูป คือ Bound biotin เป็นไวตามินบี 7 ที่เกาะอยู่กับสารอื่นและสัตว์น าไปใช้

                  ประโยชน์ไม่ได้ และ Free biotin เป็นรูปที่สัตว์สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ ตามปกติไบโอตินในอาหาร

                  จะอยู่ในรูปของ Bound biotin ประมาณ 40% ไวตามินบี 7 ที่ใช้ประโยชน์ในอาหารสัตว์จะอยู่ในรูป

                  D-isomer  ไวตามินบี  7  ในวัตถุดิบอาหารสัตว์จะพบในรูป  Biocytin  ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีน

                  นอกจากนี้ไบโอตินยังสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร






                         ไวตามินบี 9 (Folic acid)


                         ไวตามินบี 9 หรือกรดโฟลิค (Folic acid) มีโครงสร้างทางเคมีประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1)

                  Pteridine (2-amino-4-oxopteridine) 2) Para-aminobenzoic acid (PABA) และ 3) Glutamic

                  acid (Pteroylmonoglutamic acid) ไวตามินบี 9 มีลักษณะเป็นผลึกสีเหลือง มีคุณสมบัติต่างจากไว

                  ตามินที่ละลายน้ าชนิดอื่นๆ คือ ละลายน้ าได้เพียงเล็กน้อย คือ ประมาณ 1% ในน้ าเดือด แต่สามารถ

                  ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ โดยปกติเป็นสารประกอบที่คงทนมาก แต่จะถูกท าลายได้ง่ายใน pH ที่เป็น

                  กรด ไวตามินบี 9 เป็นไวตามินบีชนิดหนึ่งที่ร่างกายจ าเป็นต้องได้รับ เพื่อใช้ในขบวนการสังเคราะห์





                   บทที่ 1   บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43