Page 39 -
P. 39

ิ
                                              ิ
                                                                 ิ
                                   ื
                                                ์
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                     ิ
                                                           37

                  เพียวเรียน (Purine) และพิริมิดีน (Pyrimidine) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิค ช่วยในการสร้าง

                  เซลล์ผิวหนัง ผมและเล็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ไวตามินบี 9 ยังท าหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในรูป

                  ของ  Tetrahydrofolic  acid  ในระบบเอนไซม์ต่างๆ  โดยเฉพาะขบวนการที่เรียกว่า  “Single  carbon

                  metabolism” โดยใช้ในการเคลื่อนย้ายคาร์บอนหนึ่งตัวจากสารหนึ่งไปยังอีกสารหนึ่ง เช่น การเปลี่ยน

                  กรดอะมิโนเซอรีน (Serine) ไปเป็นกรดอะมิโนไกลซีน (Glycine)


                         แหล่งของไวตามินบี  9  คือ  ไวตามินบี  9  พบทั่วไปในอาหารธรรมชาติและจะพบไวตามินบี  9

                  มากในใบพืชสีเขียว เช่น พวกหญ้าอัลฟาฟา ยีสต์ ตับและถั่วเหลืองทั้งเมล็ดหรือกากถั่วเหลืองทั้งเปลือก
                  ทั้งนี้เพราะถั่วเหลืองจะมีไวตามินบี 9 สูงมากที่ส่วนเปลือก โดยทั่วไปไวตามินบี 9 ที่พบในพืชและสัตว์จะ

                  รวมตัวกับกรดกลูตามิค (Glutamic acid) สัตว์ไม่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ ไตและตับอ่อนของสัตว์
                  จะมีเอนไซม์ที่เรียกว่า “Conjugases” ซึ่งสามารถท าให้ไวตามินบี 9 แตกตัวออกมาจากกรดกลูตามิคได้

                  สัตว์จึงสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้  นอกจากนี้พืชและจุลินทรีย์ในล าไส้สามารถสังเคราะห์ไวตามินบี  9

                  ได้โดยใช้ Guanosine triphosphate (GTP) ซึ่งจะไม่พบเอนไซม์ชนิดนี้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์
                  ปีก


                         ไวตามินบี 12 (Cobalamin)

                                                             ี
                                                                                                 ั
                         ถ้าเลี้ยงสัตว์ด้วยโปรตีนจากพืชเพียงอย่างเดยว สัตว์จะไม่โตเท่าที่ควร สาเหตุเนื่องจากวตถุดิบที่
                  ได้จากพืชไม่มีไวตามินบี 12 ไวตามินบี 12 มีเฉพาะในวัตถุดิบที่ได้จากสัตว์เท่านั้น เช่น ตับและปลาปน
                                                                                                      ่
                  เป็นต้น ดังนั้นจึงมีการเรียกไวตามินบี 12 ว่า “Animal protein factor หรือ APF” หรือเรียกอีกอย่าง

                  หนึ่งว่า  “Cyanocobalamine”  เนื่องจากมีคาร์บอน  ไฮโดรเจน  โคบอลต์  ไนโตรเจน  ออกซิเจนและ

                  ฟอสฟอรัสรวมอยู่ในสูตรโครงสร้าง  ไวตามินบี  12  มีลักษณะเป็นผลึกสีแดงและมีคุณสมบัติสามารถดูด
                  น้ าจากอาหารได้ถึง  12%  ดังนั้นควรเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นต่ าและต้องปิดฝาอย่างดี  ถ้าผสมกับ

                  แอมโมเนียซัลเฟตได้ยิ่งดี เพราะแอมโมเนียซัลเฟตจะช่วยท าให้ไวตามินบี 12 คงทนมากขึ้น

                         ไวตามินบี  12  ท าหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในขบวนการเมตาบอลิซึมต่างๆ  เช่น  ในสัตว์กระเพาะ
                  เคี้ยวเอื้องจะมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงของ Methylmalonyl co-enzyme A ไปเป็น Succinyl Co

                  A ในเมตาบอลิซึมของกรดโปรบิโอนิค (Propionic acid) นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสังเคราะห์ DNA
                  อีกด้วย

                         แหล่งของไวตามินบี  12  คือ  ไวตามินบี  12  จะพบในสัตว์มากกว่าในพืช  เพราะพืชไม่มีการใช้

                  โคบอลต์ โดยพบไวตามินบี 12 มากในปลาป่น ตับ ยีสต์ ไข่แดง ในขณะที่วัตถุดิบหลักอื่นๆ เช่น ข้าวโพด
                  และกากถั่วเหลืองจะมีไวตามินบี  12  ต่ ามาก  แหล่งไวตามินบี  12  ในธรรมชาติ  คือ  ได้จากการ

                  สังเคราะห์จากจุลชีพ ไวตามินบี 12 ในรูปของ CN-(cyanocobalamin), OH-(hydroxycobalamin),




                   บทที่ 1   บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44