Page 43 -
P. 43
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ิ
ื
41
ได้แก่ กรดอะซิติค (Acetic acid) กรดโปรปิโอนิค (Propionic acid) กรดบิวทีริค (Butyric acid) และ
กรดแลคติค (Lactic acid)
2.2 สารอนินทรีย์
สารอนินทรีย์ ประกอบด้วยแร่ธาตุเป็นส่วนใหญ่ แร่ธาตุเหล่านี้มีความจ าเป็นส าหรับสัตว์
สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังแสดงในภาพที่ 1-7
แร่ธาตุที่จ าเป็นต่อร่างกายสัตว์ (Essential elements)
สารอนินทรีย์ แร่ธาตุที่ไม่จ าเป็นต่อร่างกายสัตว์ (Non-essential elements)
(Inorganic matter) แร่ธาตุที่เป็นพิษ (Toxic elements)
ภาพที่ 1-7 องค์ประกอบของสารอนินทรีย์
2.2.1 แร่ธาตุที่จ าเป็นต่อร่างกายสัตว์ (Essential elements)
เป็นแร่ธาตุที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึมต่างๆ สัตว์จ าเป็นต้องได้รับจากอาหารในปริมาณที่
เพียงพอ ถ้าขาดจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตและสุขภาพของสัตว์ ได้แก่ แคลเซียม
(Calcium, Ca) และฟอสฟอรัส (Phosphorus, P) มีบทบาทส าหรับโครงร่างของร่างกาย โซเดียม
(Sodium, Na) โปแตสเซียม (Potassium, K) และคลอรีน (Chorine, Cl) มีความส าคัญในการรักษา
สมดุลของกรด-ด่างในร่างกายและควบคุมการดูดซึมน้ า (Osmosis) แมกนีเซียม (Magnesium, Mg) มี
ความส าคัญในการกระตุ้นการท างานของเอนไซม์และการท างานของระบบประสาท ไอโอดีน (Iodine, I)
จะช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึม (Metabolic rate) ในร่างกาย ทองแดง (Copper, Cu) โคบอลท์
(Cobalt, Co) และเหล็ก (Iron, Fe) มีบทบาทในการสร้างฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงและกระตุ้นการ
ท างานของเอนไซม์ แมงกานีส (Manganese, Mn) โมลิดินั่ม (Molybdinum, Mo) ซีลีเนียม
(Selenium, Se) และสังกะสี (Zinc, Zn) มีความส าคัญเกี่ยวข้องกับการท างานของเอนไซม์ในร่างกาย
สัตว์ เป็นต้น
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์