Page 45 -
P. 45
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
43
่
เปลือกไข่ (Fleming, 2008) นอกจากนี้ Hunton (2005) รายงานวาไก่ไข่ที่อยู่ในช่วงให้ผลผลิตไข่จะมี
ปริมาณแคลเซียมในกระแสเลือดสูงสุดประมาณ 30 มิลลิกรัม/เลือด 100 มิลลิลิตร
แคลเซียมมีความสัมพันธ์กับฟอสฟอรัสและไวตามินด ี ร่างกายสัตว์สามารถใช้แคลเซียมและ
ฟอสฟอรัสให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เมื่อในอาหารมีปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอัตราส่วนที่
เหมาะสม คือ 1:1 หรือ 2:1 หากแร่ธาตุตัวหนึ่งตัวใดมีปริมาณสูงเกินไป จะท าให้การใช้ประโยชน์ของแร่
ธาตุอีกตวลดลง อีกทั้งสัตว์จะต้องได้รับไวตามินดีอย่างเพียงพอด้วย ทั้งนี้เพราะไวตามินดีมีบทบาทต่อ
ั
การดูดซึมของแคลเซียมที่ล าไส้เล็ก
บทบาทของแคลเซียม คือ ท าหน้าที่ร่วมกับฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน
(Hydroxyappatitie, Ca(PO 4) 6(HO) 2) แคลเซียมยังเป็นส่วนประกอบส าคัญส าหรับการด ารงชีวิตของ
เซลล์และน้ าเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue fluid) แคลเซียมเป็นองค์ประกอบและกระตุ้นการท างานของเอนไซม์
มีความจ าเป็นส าหรับการส่งกระแสประสาท ควบคุมการท างานของกล้ามเนื้อ ท าให้เลือดแข็งตัว ท างาน
ร่วมกับโซเดียมและโปแตสเซียม เพื่อให้หัวใจเต้นปกติและช่วยรักษาความเป็นกรดและด่างในร่างกายให้
สมดุล
แหล่งของแคลเซียม คือ แคลเซียมในอาหารสัตว์มักอยู่ในรูปอนินทรีย์และรูปที่เกาะตัวกับ
โปรตีน แคลเซียมในรูปอนินทรีย์จะอยู่ในรูปเกลือฟอสเฟตและคาร์บอเนท ในกระดูกป่นจะอยู่ในรูปไฮดร
อกซี่อะพาไทท์ (Hydroxyl apatite) ซึ่งคล้ายคลึงกับไตรแคลเซียมฟอสเฟต ส่วนในเปลือกหอย เปลือก
ไข่และเกล็ดปลาจะอยู่ในรูปแคลเซียมคาร์บอเนท ขนาดของแคลเซียมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.5
มิลลิเมตร สามารถปลดปล่อยแคลเซียมต่อเนื่อง ท าให้สัตว์สามารถดูดซึมและสะสมในกระดูกได้ด ี
ใบพืชจะมีแคลเซียมในระดับสูง แต่เมล็ดพืชจะมีแคลเซียมต่ ามาก ในน้ านมและปลาป่นเป็น
แหล่งแคลเซียมที่ดีและแร่ฟอสเฟตที่นิยมใช้ในอาหารสัตว์จะเป็นพวกโมโน ไดและไตรแคลเซียม
ฟอสเฟต
โดยทั่วไปปริมาณของฟอสฟอรัสในอาหารจะมีน้อยกว่าแคลเซียม สัดส่วนของแคลเซียมต่อ
ฟอสฟอรัสทั้งหมดในวัตถุดิบจากพืชมักมีสัดส่วนอยู่ระหว่าง 1-1.25:1 ขณะที่สัตว์ต้องการแคลเซียมและ
้
ฟอสฟอรัสที่ใช้ประโยชน์คิดเป็นสัดส่วน 2-3:1 ส่วนในแม่ไก่ตองการสัดส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัส
ที่ใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 10:1
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์