Page 46 -
P. 46
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ิ
์
44
ฟอสฟอรัส (Phosphorus, P)
ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่มีความส าคัญทั้งในพืชและสัตว์ ส าหรับในสัตว์ฟอสฟอรัสจะกระจายอยู่
ทั่วไปในร่างกายและไม่จ ากัดว่าจะอยู่เฉพาะในรูปฟอสฟอรัสอนินทรีย์ (Inorganic P) แต่จะอยู่ในรูปของ
สารประกอบอินทรีย์ต่างๆ เช่น ฟอสโฟลิพิดและกรดนิวคลีอิก เป็นต้น นอกจากนี้ฟอสฟอรัสจัดเป็น
แหล่งประจุลบที่ส าคัญในของเหลวภายในเซลล์ (Intercellular anion)
ั
ระดับฟอสฟอรัสในอาหารมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดบแคลเซียมและแร่ธาตุประจุบวกบาง
ตัว เช่น อลูมิเนียม แมกนีเซียมหรือเหล็ก ตลอดจนอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหาร
แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับไวตามินดีโดยตรง หากระดับแคลเซียมหรือแร่ธาตุประจุบวกในอาหารสูงเกินไป
แร่ธาตุเหล่านี้จะรวมตัวกับฟอสฟอรัส ท าให้เกิดการสร้างเกลือที่ไม่ละลายน้ า เป็นผลให้ฟอสฟอรัส
ตกตะกอนในล าไส้เล็กและไม่ถูกดูดซึม อัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสจะต้องเหมาะสมด้วย ทั้งนี้
ั
เพราะทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัสต่างแย่งกันดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ถ้าหากมีแร่ธาตุตัวหนึ่งตวใดมาก
เกินไป จะท าให้การดูดซึมของแร่ธาตุอีกตัวลดน้อยลง
บทบาทของฟอสฟอรัส
-เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ซึ่งอยู่ในรูปของแคลเซียมฟอสเฟต ปกติจะมี
ฟอสฟอรัสในกระดูกประมาณครึ่งหนึ่งของแคลเซียม (Ca:P เท่ากับ 2:1)
-เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน โดยเฉพาะการเก็บสะสมพลังงานและการส่งพลังงานไป
ยังส่วนต่างๆของร่างกาย สารที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ คือ อะดีโนซีน ไตรฟอสเฟต (Adenosine
triphosphate)
-เป็นส่วนประกอบของฟอสฟอลิพิด ซึ่งมีบทบาทในการขนส่งไขมันในร่างกายและการ
ท างานของเยื่อหุ้มเซลล์ (Cellular permeability)
-เป็นส่วนประกอบของนิวคลีโอโปรตีน (Nucleoproteins) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ควบคุม
ุ์
การแบ่งเซลล์ การสืบพันธและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
-เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีต่างๆ เช่น การใช้อาหารโดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต การ
หายใจของเซลล์และเนื้อเยื่อและการสังเคราะห์โปรตีน เปนต้น
็
แหล่งของฟอสฟอรัส คือ ฟอสฟอรัสจะมีมากในเมล็ดพืชต่างๆ แต่ในส่วนใบและล าต้นจะมีน้อย
ทั้งนี้ปริมาณฟอสฟอรัสจะลดลง เมื่อพืชเจริญเต็มที่แล้ว โดยปกติฟอสฟอรัสประมาณ 2 ใน 3 ส่วนที่มีอยู่
ในวัตถุดิบที่ได้จากพืชจะอยู่ในรูปของไฟตินฟอสฟอรัสหรือเกลือของกรดไฟติค สัตว์กระเพาะเดี่ยวไม่
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์