Page 42 -
P. 42
ิ
์
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
40
ในทางการค้าจะมีการใช้โคลีนในรูปโคลีนคลอไรด์ (Choline chloride) ซึ่งเป็นสารละลายที่มี
ฤทธิ์กัดกร่อนสูง ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรผสมสารละลายโคลีนคลอไรด์กับไวตามินอื่น นอกจากนี้ยังมีโคลี
นคลอไรด์ในรูปผงซึ่งเป็นการผสมสารละลายโคลีนคลอไรด์ร่วมกับสื่อ เช่น ซังข้าวโพดหรือร าข้าวสาลี
เป็นต้น
บีเทนมีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายโคลีน ท าหน้าที่เป็นตัวให้หมู่เมทิล ในการสังเคราะห์ฟอสฟอ
ลิพิด (Phospholipid) และการสร้างเซลล์ บีเทนสามารถน ามาใช้เพื่อทดแทนโคลีนและเมทไธโอนีนได ้
ขึ้นอยู่กับราคา
คาร์นิทีน (Carnitine)
คาร์นิทีนเป็นสารประกอบที่พบในธรรมชาติ ท าหน้าที่คล้ายไวตามิน (Vitamin-like activity)
ช่วยในการขนส่งกรดไขมันสายยาว (Long chain fatty acids) เข้าสู่ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)
ในการสร้างพลังงาน (ATP) คาร์นิทีนใช้เป็นสารอาหารเสริม (Feed additive) ช่วยให้การใช้ไขมันมี
ประสิทธิภาพสูงขึ้นในลูกสุกร ลดปริมาณไขมันในซากปลาและสุกรขุน
2.1.5 สารอินทรีย์อื่นๆ
นอกจากสารอาหารต่างๆ ที่พบในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ ยังประกอบด้วยสารอินทรีย์อีกหลาย
ประเภท ซึ่งบางกลุ่มเป็นสารที่พืชสร้างขึ้น เพื่อใช้ป้องกันตัวเองในสภาวะแวดล้อม แต่สารเหล่านี้กลับ
กลายเป็นสารซึ่งมีผลเสียต่อตัวสัตว์ เช่น กลุ่มสารยับยั้งการใช้ประโยชน์ได้จากอาหาร เช่น สารยับยั้ง-
ทริปซิน (Trypsin inhibitor) ฮีแมกกลูตินิน (Haemagglutinin) หรือเลคติน (Lectin) ซึ่งพบมากในพืช
ตระกูลถั่วหรือแทนนินในข้าวฟ่าง เป็นต้น สารเหล่านี้มีผลท าให้การใช้ประโยชน์จากอาหารของสัตว์เลี้ยง
ลดลงหรือสารในกลุ่มที่จัดเป็นสารพิษ (Toxin) ต่อสัตว์ เช่น กลุ่มแอลคาลอยด์ (Alkaloid) เป็นต้น
นอกจากนี้กรดอินทรีย์ต่างๆที่เกิดขึ้นในพืชและสัตว์ ได้แก่ กรดซิตริค (Citric acid) กรดมาลิค
(Malic acid) กรดฟูมาริค (Fumaric acid) และกรดไพรูวิค (Pyruvic acid) ถึงแม้ว่ากรดอินทรีย์เหล่านี้
จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็มีบทบาทส าคัญโดยเป็นตัวกลางในขบวนการเมตาบอลิซึมทั่วๆ ไป
ในเซลล์ กรดอินทรีย์อื่นๆ ที่มักเกิดขึ้นจากขบวนการหมักในกระเพาะรูเมนหรือในการท าหญ้าหมัก
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์