Page 37 -
P. 37

ิ
                                                ์
                                              ิ
                                   ื
                                                                 ิ
                                                                           ิ
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           35

                         ไวตามินบี  6  เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ของเอนไซม์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา

                  ต่างๆ ในร่างกาย เช่น ปฏิกิริยา Transaminase ซึ่งเป็นปฏิกิริยาในการเปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็น Keto

                  acid  ขบวนการ  Decarboxylation  ของกรดอะมิโน  เป็นต้น  ไวตามินบี  6  มีส่วนส าคัญในการสร้าง

                  ภูมิคุ้มกันโรคและสังเคราะห์สารแรกเริ่มของวงแหวนเพอร์ไฟริน  (Porphyrin)  ซึ่งเป็นส่วนส าคัญของ

                  เฮโมโกลบิน อีกทั้งเป็นตัวส าคัญในการสังเคราะห์และควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของ DNA และ RNA ซึ่ง

                  เป็นปัจจัยส าคัญในการบ่งบอกพันธุกรรม


                         แหล่งของไวตามินบี 6 คือ ไวตามินบี 6 พบได้ในอาหารทั่วๆไป ได้แก่ เมล็ดพืช ส่วนในผลไม้ไม่

                  มีเลย ในพืชแม้จะมีไวตามินบี 6 แต่อยู่ในสภาพที่ร่างกายน าไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะเป็นพวก กลูโค

                  ไซด์ (Glucosides) ในอาหารหลายชนิดไวตามินบี 6 จะจับอยู่กับโปรตีน ในพวกธัญพืชจะพบว่าปริมาณ

                  ไวตามินบี  6  จะมีอยู่มาก  ตรงบริเวณหัวและท้ายเมล็ดและเยื่อที่หุ้มเมล็ด  ดังนั้นเมื่อน าเมล็ดธัญพืช

                  เหล่านี้ไปผ่านขบวนการขัดสีให้ขาว ท าให้ส่วนที่เป็นไวตามินบี 6 จะหลุดออกไป ท าให้สูญเสียไวตามินบี

                  6  ได้  ไวตามินบี  6  ในพืชจะอยู่ในรูปพิริดอกซิน  ส่วนในสัตว์จะอยู่ในรูปพิริดอกซอลและพิริดอกซามีน

                  นอกจากนี้ร่างกายยังได้รับไวตามินบี 6 จากการสังเคราะห์ของแบคทีเรียในล าไส้อีกด้วย






                         ไวตามินบี 7 (Biotin)


                         ไวตามินบี 7 หรือ ไบโอติน (Biotin) หรือไวตามินเอช (Vitamin H) เป็นไวตามินที่มีก ามะถัน

                  เป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับไวตามินบี  1  แบคทีเรียที่อยู่ในล าไส้ใหญ่สามารถสร้างไวตามินบี  7  ได้

                  รวมถึงในอาหารก็มีไวตามินบี  7  เพียงพอ  ดี-ไบโอติน  เป็นรูปธรรมชาติและรูปสังเคราะห์ที่ใช้เสริมใน

                  อาหาร มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติละลายได้เร็วในน้ าและแอลกอฮอล์ มีความคงทน

                  ในสภาพปกติ แต่จะถูกท าลายได้โดยด่างเข้มข้นและสารละลายกรด


                         สารอะวิดิน (Avidin) เป็นสารที่ขับออกมาจากท่อน าไข่ของไก่ไข่และสะสมอยู่ในไข่ขาว สารอะว ิ

                  ดินนี้สามารถรวมตัวกับไบโอตินในอัตราส่วน  1  โมเลกุลต่อ  1  โมเลกุล  เกิดเป็น  Avidin-biotin

                  complex ซึ่งเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนของสัตว์ไม่สามารถย่อยได้ ท าให้สัตว์ไม่สามารถใช้ไบโอตินได้ แต่ถ้า

                  ไข่ผ่านความร้อน จะท าให้อะวิดินถูกท าลาย นอกจากนี้ปริมาณการหืนของไขมันจะท าให้ไบโอตินสูญเสีย








                   บทที่ 1   บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42