Page 34 -
P. 34

ิ
                                   ื
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                ์
                                                                 ิ
                                                                           ิ
                                              ิ
                                                           32

                  โดยปกติไวตามินบี 2 จะมีความคงทนต่อกรดที่ร้อนและสารละลายที่เป็นกลาง แต่ถูกท าลายได้ด้วยด่าง

                  และแสง โดยเฉพาะแสงอุลตราไวโอเลต


                         ไวตามินบี 2 ท าหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โคเอนไซม์ 2 ตัว คือ

                  Flavinmononucleotide (FMN) และ Flavin adenine dinucleotide (FAD) ไวตามินบี 2 จะ

                  เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของสารอาหารตางๆในร่างกายโดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
                                                               ่
                  นอกจากนี้พวกนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ของไวตามินบี 2 จะมีบทบาทส าคัญในการพาไฮโดรเจน

                  อะตอมในขบวนการขนส่งอิเล็กตรอน (Electron transporting system)


                         แหล่งของไวตามินบี  2  คือ  ไวตามินบี  2  สามารถสังเคราะห์ได้ในพืชสีเขียว  ราและแบคทีเรีย

                  ยกเว้นพวก Lactobacilli นอกจากนี้จะสามารถพบมากในยีสต์ ตับ น้ านมและหางนม (Whey) แต่ใน

                  เมล็ดธัญพืชจะมีไวตามินบี  2  น้อย  นอกจากนี้จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารสามารถสังเคราะห์ไว

                  ตามินบี 2 ได้เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ โดยเฉพาะในสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงไม่จ าเป็นต้องพึ่งไวตามิน

                  บี 2 จากอาหารเลย





                         ไวตามินบี 3 (Niacin หรือ Nicotinic acid)


                         ไวตามินบี 3 หรือไนอาซีน (Niacin) หรือนิโคตินิค เอซิค (Nicotinic acid) มีคุณสมบัติเป็นผลึก

                  ไม่มีสี สามารถละลายได้ดีในน้ าและแอลกอฮอล์ เป็นไวตามินที่มีคุณสมบัติคงทนและไม่ถูกท าลายได้ง่าย

                  โดยความร้อน  กรดหรือด่าง  หรือปฏิกิริยาออกซิเดชั่น  (Oxidation)  รูปที่สามารถท างานได้  (Active)

                  ของไวตามินบี  3  คือ  Nicotinamide  ซึ่งทั้ง  Nicotinic  acid,  Nicotinamide  และกรดอะมิโนทริป

                  โตเฟนมีความสัมพันธ์กัน


                         ไวตามินบี  3  หลังจากที่ถูกดูดซึมที่บริเวณล าไส้แล้วจะถูกเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของนิโคตินามีน

                  ทันที ซึ่งนิโคตินามีนที่พบในร่างกายสัตว์ คือ Nicotinamide adenine dinucleotide (NAD) และ

                  Nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADP) ซึ่งท าหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ที่ส าคัญใน

                  ขบวนการไกลโคไลซีส     (Glycolysis)   และการหายใจของเซลล์โดยเป็นตัวพาไฮโดรเจนอะตอมใน

                  ขบวนการขนส่งอิเล็กตรอนเช่นเดียวกับไวตามินบี 2 นอกจากไวตามินบี 3 ยังช่วยควบคุมการท างานของ








                   บทที่ 1   บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39