Page 31 -
P. 31
ิ
์
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
29
แหล่งของไวตามินดี
ั
ในอาหารสัตว์ทั่วไปมีไวตามินดีน้อยมาก ซึ่งอาหารที่มีไวตามินดีมาก ได้แก่ น้ ามันตบปลา ปลา
ตับ ไข่แดง นมและเนย นอกจากนี้ในนมน้ าเหลือง (Colostrum) จะมีไวตามินดีอยู่มาก ประมาณ 6-10
เท่าของปริมาณที่มีอยู่ในน้ านมธรรมดา
ไวตามินอี (Vitamin E) หรือ Tocopherol
ไวตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) โดยท างานร่วมกับไวตามินซี ไวตามินอีมี
ความส าคัญช่วยลดสารจากการสลายไขมัน (Lipid peroxidation) ป้องกันการสลายตัวของกรดไขมันไม่
อิ่มตัวในเยื่อบุเซลล์และโครงสร้างอื่นๆของเซลล์ไม่ให้ถูกท าลายโดยอนุมูลอิสระ (Free radicals) ไว
ตามินอีช่วยท าให้ผิวหนังชุ่มชื้น ลดการอักเสบ ช่วยซ่อมแซมผิวหนัง ช่วยให้การท างานของระบบสืบพันธุ์
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยการท างานของเซลล์ประสาทและการท างานของกล้ามเนื้อ
การให้อาหารสัตว์ที่มีไวตามินอีสูง จะช่วยปรับปรุงคุณภาพเนื้อ โดยเฉพาะการใส่ไวตามินอีใน
สูตรอาหารก่อนส่งโรงเชือด ปริมาณไวตามินอีที่สะสมในเนื้อจะช่วยป้องกันการเหม็นหืน (Lipid
oxidation) ป้องกันสีเนื้อซีดในเนื้อสดและเนื้อแช่งแข็งและช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์แช่แข็ง การใช้ไวตามิน
อีร่วมกับซิลีเนียมช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สูงขึ้น ซึ่งใช้ได้ดีในสัตว์ปีก สุกรและสัตว์
เล็กอื่นๆ แต่ในสัตว์เคี้ยวเอื้องจะตอบสนองเห็นผลได้ไม่ชัดเจนนัก
แหล่งของไวตามินอี คือ ไวตามินอีพบได้ในธรรมชาติ 8 รูปแบบ คือ α, β, และ δ
tocopherols และ α, β, และ δ tocotrienols โดยรูปที่ว่องไวที่สุดคือ α-tocopherol จะมีค่า
การใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ไวตามินอี 1 I.U. จะมีค่าเท่ากับ 1 มิลลิกรัมของ DL- α-tocopherol
acetate โดยไวตามินดีในรูป D-isomer จะมีค่าการใช้ประโยชน์ดีกว่า L-isomer
ไวตามินอีสามารถสังเคราะห์ได้แต่ในพืชเท่านั้น ดังนั้นน้ ามันที่ได้จากพืชจึงเป็นต้นตอที่ดี เช่น
น้ ามันจากดอกค าฝอย ร าข้าว เมล็ดฝ้าย เมล็ดข้าวโพด ถั่วเหลืองและน้ ามันลินซีด ส่วนน้ ามันมะกอก
และน้ ามันมะพร้าวมีไวตามินอีเพียงเล็กน้อย ปัจจุบันไวตามินอีสังเคราะห์ที่ใช้เสริมในอาหารมักอยู่ในรูป
ของ α-tocopheryl acetate ซึ่งมีความคงทนมากกว่า α-tocopherol
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์