Page 30 -
P. 30
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
์
ิ
28
ตามินดี 2 (Ergocalciferol) ซึ่งพบในพืชและไวตามินดี 3 (Cholecalciferol) ซึ่งพบในสัตว ในพืชแห้ง
์
้
และพืชหมักมีไวตามินดีสะสมอยู่นอย สัตว์ที่เลี้ยงในโรงเรือนมีความต้องการเสริมไวตามินดีในอาหาร ใน
สัตว์ทุกประเภทไวตามินดี 2 จะถูกเปลี่ยนให้เป็นไวตามินดี 3 ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบที่ท างานได้ (Active
form) แต่การเปลี่ยนเป็นไวตามินดี 3 ในสัตว์ปีกจะต่ ามาก
ไวตามินดีเกี่ยวข้องกับสมดุลแคลเซียม ซึ่งจะควบคุมการดูดซึมแคลเซียมกับการสลายแคลเซียม
ที่กระดูก ไวตามินดี 3 ในร่างกายจะถูกเปลี่ยนต่อไปที่ตับท าให้ได้ 25-hydroxycholecalciferol (25-
OHD 3) และถูกส่งเข้าเลือด เพื่อขนส่งไปที่ไต เพื่อให้ไตเปลี่ยนในอยู่ในรูปแบบที่ท างานได้สูง คือ 1,25-
dihydroxycholecalciferol (1,25-OHD 3) แล้วจึงน ากลับมาที่เลือด ก่อนที่จะน าไปใช้ในการเคลื่อนย้าย
แคลเซียม อัตราการเปลี่ยนดังกล่าวขึ้นกับการท างานของพาราไธรอยด์ฮอร์โมน (Parathyroid
hormone, PTH) ซึ่ง PTH จะเริ่มท างานเมื่อระดับแคลเซียมในเลือดลดลง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูดซึม
และสังเคราะห์ 1,25-OHD 3
ในโคนมก่อนคลอด การให้กินไวตามินดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรคไข้นม (Milk fever) ในสัตว์
ปีกและสุกร การเปลี่ยนไวตามินดี 3 ให้เป็น 1-hydroxycholecalciferol (1-OHD 3) จะท างานได้ดีกว่า
1,25-OHD 3 ซึ่งช่วยการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสด้วยการกระตุ้นการท างานของเอนไซม์ไฟเตส
(Phytase) ในล าไส้ ให้สามารถย่อย Phytate phosphorus ได้มากขึ้น การปลอมปนของเชื้อราใน
อาหารไก่ มีผลท าให้ความต้องการไวตามินดีสูงขึ้น เพราะอะฟลาท๊อกซินท าให้การดูดซึมแร่ธาต ุ
แคลเซียมและฟอสฟอรัสลดลง นอกจากนี้ยังท าให้ตับท างานผิดปกติและการสร้าง 25-
hydroxycholecalciferol (25-OHD 3) จากตับลดลง
บทบาทของไวตามินดี คือ ควบคุมการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร จากล าไส้เข้า
สู่เส้นเลือด โดยควบคุมการท างานของเยื่อบุผิวล าไส้ที่ท าหน้าที่สร้าง Calcium-binding protein
(Calbindin) ออกมาน าแคลเซียมเข้าเซลล์ นอกจากนี้ไวตามินดียังมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโน
ที่ไต เพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนที่ใช้ในการดูดซึมแบบ Active transport ของแคลเซียม ไวตามินดี
ท างานร่วมกับต่อมพาราไธรอยด์ฮอร์โมนและแคลซิโทนิน (Calcitonin) เพื่อควบคุมปริมาณแคลเซียม
และฟอสฟอรัสในกระแสโลหิต
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์