Page 28 -
P. 28
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ิ
ื
ิ
26
ได้อย่างเพียงพอและอาหารส่วนใหญ่จะมีปริมาณไวตามินอีและไวตามินเคอย่างเพียงพออยู่แล้ว ไวตามิน
บี ก็มีความส าคัญโดยท าหน้าที่เป็นตัวโค-เอนไซม์ (Co-enzyme) ในปฏิกิริยาต่างๆ และในอาหารมักจะ
มีการขาดไวตามินบีบางตัวอยบ้าง อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถ
ู่
สังเคราะห์ไวตามินบีได้มากเพียงพอกับความต้องการของสัตว์ ไวตามินซีเป็นไวตามินที่ถูกสังเคราะห์ใน
เนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงเกือบทุกชนิด แต่ในอาหารสัตว์บางชนิดจ าเป็นจะต้องมีการเสริมไวตามินซีด้วย
เช่น ลิง เป็นต้น ในสภาวะซึ่งสัตว์เกิดความเครียดมากๆ เช่น เลี้ยงในสภาพหนาแน่นหรือมีการ
เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การเสริมไวตามินซีในอาหารจะสามารถช่วยลดความเครียดของสัตว์ได้และ
ท าให้สมรรถภาพการผลิตของสัตว์ดีขึ้น
2.1.4.1 ไวตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble vitamins)
ไวตามินเอ (Vitamin A)
ท าหน้าที่ส าคัญต่อการมองเห็น โดยน าไปใช้ในการสร้างเม็ดสี (Pigment) ส าหรับการมองเห็น
ภาพในที่มืด นอกจากนี้ยังมีความส าคัญต่อสังเคราะห์ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) และมูโคโพลีแซค
คาไรด์ (Mucopolysaccharides) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเซลล์ร่างกาย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและสารเมือก
ไวตามินเอช่วยรักษาเยื่อบุในร่างกาย เช่น เยื่อบุตาขาว เยื่อบุทางเดินหายใจและเยื่อบุทางเดินอาหารให้
เป็นปกติ ไวตามินเอยังเกี่ยวข้องกับการขยายและเพิ่มจ านวนของเซลล์และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของ
ร่างกายท างานได้ดี
ไวตามินเอที่เก็บสะสมในร่างกายจะอยู่ในรูปของเรตินิล ปาล์มมิเตท (Retinyl palmitate) ซึ่ง
เป็นรูปที่เสถียร
ไวตามินเอมี 3 รูป ได้แก่ เรตินอล (Retinol) เรตินัล (Retinal) และกรดเรติโนอิก (Retinoic
acid) ทั้งสามรูปแบบสามารถท างานได้ โดยไวตามินเอในอาหารสัตว์อยู่ในรูปเอสเทอร์ของเรตินอล
(Retinol ester) และนอกจากนี้ในอาหารยังมีสารที่สามารถเปลี่ยนเป็นไวตามินเอได้ ซึ่งสามารถแบ่ง
ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Performed vitamin A ได้แก่ เรตินอยด์ (Retinoids) และ Provitamin A
ได้แก่ แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)
ไวตามินเอมีความส าคัญต่อการเจริญเติบโตของระบบเลือดซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจริญของลูกสัตว์
ปีกและการฟักออก การขาดไวตามินเอหรือได้รับไวตามินเอไม่เพียงพอ ท าให้เชื้อตายในระยะ 2-3
วันแรก
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์