Page 25 -
P. 25

ิ
                                                                           ิ
                                                ์
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                              ิ
                                     ิ
                                   ื
                                                           23

                         4. โปรตีนสะสม (Storage protein) ท าหน้าที่เป็นโปรตีนสะสมเป็นคลังอาหาร เช่น อัลบูมิน

                  (Albumin) ในไข่

                         5. โปรตีนฮอร์โมน (Protein hormone) ท าหน้าที่เป็นโปรตีนควบคุมการท างานของร่างกายให้

                  เป็นปกติ  เช่น  อินซูลิน  (Insulin)  โกรทฮอร์โมน  (Growth  hormone,  GH)  และไทรอยด์ฮอร์โมน

                  (Thyroid stimulating hormone, TSH) เป็นต้น

                         6.  โปรตีนป้องกัน  (Protective  protein)  ท าหน้าที่เป็นโปรตีนป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับ

                  อันตรายหรือเกิดการเจ็บป่วย เช่น แอนติบอดี (Antibody) ช่วยก าจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย

                         7.  โปรตีนเคลื่อนไหว  (Contractile  protein)  ท าหน้าที่เป็นโปรตีนที่ท าให้เกิดการเคลื่อนไหว

                  หรือเคลื่อนที่ เช่น โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของไมโครทูบูล (Microtubule) ซีเลีย (Cilia) แฟลเจลลา

                  (Flagella) โปรตีนในเซลล์กล้ามเนื้อ ได้แก่ แอกทิน (Actin) และไมโอซิน (Myosin)

                         8.  โปรตีนสารพิษ  (Toxin)  ท าหน้าที่เป็นโปรตีนที่เป็นสารพิษต่างๆ  เช่น  พิษงูและพิษจาก

                  แบคทีเรีย เป็นต้น


                         9. โปรตีนที่ท าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการท างานของยีน (Gene) เช่น ฮีสโทน (Histone)


                         10. โปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เช่น โพรทรอมบิน (Prothrombin) และไฟบริโนเจน

                  (Fibrinogen) ท าหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล



                  การจ าแนกชนิดของโปรตีนตามองค์ประกอบทางเคมี ได้ดังนี้


                         1. โปรตีนเชิงเดี่ยว (Simple protein) ประกอบด้วยกรดอะมิโนเท่านั้น ไม่มีสารอื่นปนอยู่ แบ่ง

                  ออกเป็น  2  กลุ่มตามลักษณะการละลายได้และองค์ประกอบทางเคมี  คือ  โปรตีนเส้นใย  (Fibrous

                  protein) และโปรตีนก้อนกลม (Globular protein)

                         -โปรตีนเส้นใย  (Fibrous  protein)  มีโครงสร้างเป็นเพบไทด์เส้นยาวหลายเส้นเรียงตัวแบบ

                  ขนานกัน โปรตีนเส้นใยท าหน้าที่เป็นโครงสร้าง เพราะมีความแข็งแรง ไม่ละลายน้ าหรือสารละลายเกลือ

                  ที่เจือจาง และทนต่อการย่อยจากตัวสัตว์ บางชนิดมีความยืดหยุ่นสูง แต่บางชนิดไม่ยืดหยุ่น โปรตีนเส้น

                  ใยสามารถแบ่งย่อยออกได้ดังนี้คือ  คอลลาเจน  (Collagen)  เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่

                  เส้นเอ็นและกระดูก  อีลาสติน  (Elastin)  มีลักษณะยืดหยุ่น  พบในเส้นเอ็นและหลอดเลือด  เคราติน

                  (Keratin) เป็นองค์ประกอบของขน ผม หนัง ปากและเกล็ดของสัตว์เลื้อยคลาน เคราตินมีกรดอะมิโนซีส

                  เตอีน (Cysteine) ซึ่งมีแร่ธาตุก ามะถันเป็นองค์ประกอบอยู่สูง



                   บทที่ 1   บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30