Page 20 -
P. 20
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
ิ
18
-เพคติน (Pectin) เกิดจากการรวมตัวของน้ าตาลกาแลคโทสหลายๆโมเลกุล เพคตน
ิ
เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ที่พบในผลไม้ มีลักษณะคล้ายวุ้น
2.1.2 ไขมัน
ไขมันและน้ ามันจะพบได้ทั้งในพืชและสัตว์ ปริมาณไขมันในร่างกายสัตว์จะผันแปรขึ้นอยู่กับ
อายุ โดยสัตว์ที่มีอายุมากจะมีปริมาณไขมันมากกว่าในสัตว์ที่มีอายุน้อย (ตารางที่ 1-6) ปริมาณไขมันใน
พืชจะมีค่อนข้างต่ า ยกเว้นกลุ่มพืชน้ ามัน ตัวอย่างเช่น พวกหญ้าอาหารสัตว์จะมีไขมันเพียง 4-5%
เท่านั้น ไขมันและน้ ามันจะให้พลังงานสูงประมาณ 2.25 เท่าของแป้งและน้ าตาล เนื่องจากไขมันมีค่า
พลังงานต่อหนึ่งหน่วยน้ าหนักสูงกว่า ดังนั้นจึงมักใช้เสริมในอาหารสัตว์ เพื่อให้ได้ระดับพลังงานตาม
ความต้องการของสัตว์
นอกจากนี้องค์ประกอบของไขมันที่พบในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์จะแตกต่างกัน โดยปกติไขมันที่
พบในพืชมักมีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงกว่ากรดไขมันชนิดอิ่มตัว ส่วนไขมันจากสัตว์จะ
แตกต่างกันตามแหล่งที่มา เช่น ไขมันจากสุกรจะขึ้นกับชนิดของไขมันในอาหารที่ได้กิน ส่วนไขมัน
จ าเป็นมักมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่หรือไขมันจากปลามักประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่
อิ่มตัวที่มีสายโซ่ยาวมากๆ (Poly-unsaturated fatty acid, PUFA) ด้วยเหตุนี้เองไขมันที่ได้จากแหล่ง
ต่างๆจึงแตกต่างกัน โดยไขมันที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง จะให้พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ต่อสัตว์สูง
กว่าไขมันซึ่งมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัว
จากการที่ไขมันให้พลังงานแก่สัตว์ได้สูงกว่าพลังงานจากแป้งและน้ าตาลประมาณ 2.25 เท่า จึง
มักใช้ไขมันเป็นแหล่งเสริมพลังงานในอาหารสัตว์ ไขมันยังเป็นแหล่งของกรดไขมันที่จ าเป็น (Essential
fatty acid) ต่อสัตว์ด้วย คือ กรดลิโนเลอค (Linoleic acid: C 18:2) กรดลิโนเลนิค (Linolenic acid:
ิ
C 18:3) และกรดอะราชิโดนิค (Arachidonic acid: C 20:4) นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่นๆซึ่งมีประโยชน์
ต่อตัวสัตว์ เช่น ฟอสฟอลิปิด (Phospholipid) สารให้สี เช่น แซน-โทฟิลล์ (Xanthophyll) หรือสารต้น
ต่อของไวตามินเอ (Provitamin A) เช่น สารแคโรทีน (Carotene) เป็นต้น
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์