Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                   ื
                                     ิ
                                                                           ิ
                                              ิ
                                                ์
                                                                 ิ
                                                           13

                         2.1    สารอินทรีย์ (Organic matter)


                         สารประกอบอินทรีย์ในอาหาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน กรดนิวคลีอิก กรดอินทรีย์

                  และ

                  ไวตามินต่างๆ

                         2.1.1  คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

                         โดยทั่วไปในอาหารมักประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตประมาณ 3 ใน 4 ของวัตถุแห้งทั้งหมด โดยที่

                  ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในร่างกายสัตว์จะมีปริมาณต่ ากว่าในพืช  ทั้งนี้เนื่องจากผนังเซลล์ของพืชจะเป็น

                  สารประกอบคาร์โบไฮเดรต เช่น เซลลูโลส (Cellulose) เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ผนังเซลล์ของเซลล์สัตว ์

                  จะประกอบด้วยโปรตีนเป็นส่วนใหญ่  นอกจากนี้พืชจะเก็บสะสมพลังงานในรูปคาร์โบไฮเดรต  เช่น  แป้ง

                  (Starch) และน้ าตาล (Sugar) ต่างๆ ในขณะที่สัตว์มักจะเก็บสะสมพลังงานในรูปไขมัน คาร์โบไฮเดรตที่

                  พบในร่างกายสัตว์จะอยู่ในรูปของน้ าตาลกลูโคส (Glucose) และไกลโคเจน (Glycogen) ในปริมาณที่ไม่

                  มากนัก ดังแสดงในตารางที่ 1-5

                  ตารางที่ 1-5 คาร์โบไฮเดรตที่พบในร่างกายโคน้ าหนัก 450 กิโลกรัม

                  คาร์โบไฮเดรต                                              จ านวน (กรัม)
                  กลูโคสในเลือด                                                 20-25

                  กลูโคสในเนื้อเยื่อ                                            40-50

                  ไกลโคเจนในตับ                                                250-300
                  ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ                                       1,800-2,200

                  ที่มา: ดัดแปลงมาจาก นวลจันทร์ และสินชัย (ม.ป.ป.)



                         แหล่งคาร์โบไฮเดรตในพืชนี้ถือเป็นแหล่งพลังงานหลักของสัตว์   อย่างไรก็ตามสัตว์สามารถใช้

                  สารประกอบคาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดไม่เท่ากัน       โดยทั่วไปคาร์โบไฮเดรตที่สามารถละลายน้ าได้

                  (Nitrogen-free-extract, NFE) ซึ่งได้แก่ แป้งและน้ าตาล จะสามารถถูกย่อยได้ง่ายและให้ค่าพลังงานสูง

                  จัดเป็นแหล่งพลังงานหลักของสัตว์ได้ดี  ส่วนคาร์โบไฮเดรตประเภทอื่นๆ  เช่น  พวกเยื่อใย  (Fiber)  อาทิ

                  เซลลูโลส  (Cellulose)  ลิกนิน  (Lignin)  หรือเรียกอีกอย่างว่า  กลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง  (Non-

                  starch polysaccharide, NSP) (ภาพที่ 1-4) จะสามารถถูกใช้ประโยชน์ได้น้อย ดังนั้นจะให้ค่าพลังงาน

                  ต่ ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับน้ าตาลและแป้ง  สารเยื่อใยนี้จะเป็นตัวก าหนดคุณภาพของอาหารส าหรับสัตว์







                   บทที่ 1   บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20