Page 11 -
P. 11
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ิ
์
ื
ิ
9
หน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นตามข้อต่อต่างๆ ในร่างกายและท าหน้าที่เป็นตัวกันการกระแทกของระบบประสาท
ั
ตลอดจนเป็นตวพาแสงและเสียงอีกด้วย น้ ามีคุณสมบัติเฉพาะตัว คือ มีความร้อนจ าเพาะสูง ดังนั้นความ
ร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกายจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและน้ ายังมี
คุณสมบัติอีกประการหนึ่ง คือ มีความร้อนแฝงในการระเหยสูง ดังนั้นการระเหยน้ าจากปอดและผิวหนัง
จึงเป็นการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้เป็นปกติ
ร่างกายสัตว์จะได้รับน้ าจาก 3 แหล่ง คือ น้ าดื่ม น้ าจากอาหารและน้ าที่เกิดจากเมตาบอลิซึมใน
ร่างกาย โดยเกิดจากปฏกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ของโภชนะอินทรีย์ที่มีไฮโดรเจนเป็น
ิ
องค์ประกอบ ปริมาณน้ าที่เกิดขึ้นอยู่กับโภชนะที่ท าปฏิกิริยา เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน จะ
ให้น้ า 1.0, 0.6 และ 0.4 กรัมต่อโภชนะ ที่ใช้ในขบวนการเมตาบอลิซึม 1 กรัม ปริมาณน้ าในอาหารชนิด
ต่างๆ จะมีความผันแปรมาก โดยพบว่าปริมาณน้ าจะมีความผันแปรตั้งแต่ 6% ในอาหารข้น ไปจนถึง
90% ในพืชหัวบางชนิด ปริมาณน้ าในพืชที่ก าลังเจริญเติบโตจะเกี่ยวข้องกับระยะการเจริญเติบโต โดย
พืชที่มีอายุน้อยจะมีปริมาณน้ ามากกว่าพืชที่แก่กว่า สัตว์เคี้ยวเอื้องมีความต้องการน้ า เพื่อช่วยในการ
ขับเคลื่อนมวลอาหาร จึงมีความต้องการน้ ามากกว่าสัตว์กระเพาะเดี่ยว วัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิดดูด
ซึมน้ าเข้าสู่ตัววัตถุดิบ เช่น ร าอ่อนและพืชแห้ง ซึ่งต้องการน้ าเพิ่มมากขึ้นให้แก่ตัวสัตว์ ในสภาพอากาศหนาว
สัตว์จะกินน้ าเพิ่ม เพราะกินอาหารเพิ่มมากขึ้น ความต้องการน้ าของสัตว์แต่ละชนิด แสดงในตารางที่ 1-3
ตารางที่ 1-3 ความต้องการน้ าของสัตว์แต่ละชนิดโดยเฉลี่ย
ชนิดของสัตว์ ปริมาณน้ า (ลิตรต่อวัน)
โคเนื้อโตเต็มที่ 60
โคนมระยะนมแห้ง 60
โคนมระยะให้นม 90
ม้าโตเต็มที่ 40
ม้าระยะให้นมลูก 50
สุกรขุนน้ าหนัก 30 กิโลกรัม 6
สุกรขุนน้ าหนัก 60-100 กิโลกรัม 8
แม่สุกรให้นมลูก 14
แกะขุน 4
แกะให้นมลูก 6
ไก่ไข่ 0.5
ที่มา: กองอาหารสัตว์ (2558)
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์