Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
์
ื
ิ
ิ
ิ
5
การจ าแนกสารอาหารสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. การจ าแนกสารอาหารตามสมบัติทางเคมี สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ไวตามิน แร่ธาตุและน้ า ซึ่งสารอาหารเหล่านี้เมื่อสัตว์ได้รับเข้าไปจะถูกเผา
ผลาญให้เกิดเป็นพลังงานหรือน าไปใช้ควบคุมการท างานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย
2. การจ าแนกสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหาร จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
คือ กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน และกลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้
พลังงาน ได้แก่ ไวตามิน แร่ธาตุและน้ า
อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์มักได้มาจากพืชและผลผลิตจากพืชเป็นส่วนใหญ่ จะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
ที่ได้มาจากสัตว์ เช่น ปลาป่นและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น นอกจากนี้อาหารที่ได้จากสัตว์นี้ยังถูกใช้ใน
ปริมาณจ ากัดอีกด้วย ด้วยเหตุนี้การศึกษาโภชนะสัตว์จ าเป็นต้องเริ่มต้นจากพืช โดยพืชสามารถใช้สารที่
มีอยู่ทั่วไป เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ น้ าและแร่ธาตุจากดิน น ามาสังเคราะห์แสง
(Photosynthesis) โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานส่วนใหญ่จะถูกสะสมอยู่ในรูปของพลังงาน
เคมีในพืช สัตว์จะสามารถน าพลังงานนี้มาใช้เพื่อการด ารงชีพและการสังเคราะห์เนื้อเยื่อร่างกายของสัตว์
ต่อไป พืชและสัตว์จะประกอบด้วยสารเคมีชนิดเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งสารเหล่านี้เป็นหมวดหมู่ตาม
ส่วนประกอบคุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ ดังแสดงในภาพที่ 1-1
น้ า (Water) คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
ไขมัน (Lipid)
อาหาร สารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ
ไวตามิน (Vitamins)
สารอินทรีย์ (Organic matter) สารอินทรีย์อื่นๆ
วัตถุแห้ง (Dry matter)
สารอนินทรีย์ (Inorganic matter) แร่ธาตุ (Minerals)
ภาพที่ 1-1 องค์ประกอบของเนื้อเยื่อพืชและสัตว์
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์