Page 56 -
P. 56
ิ
ื
์
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
41
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ผ่านมายังไม่ได้ทำการศึกษาในรายละเอียดเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของ
หลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในที่ดินประเภทต่าง ๆ ว่ามีความสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันเศรษฐกิจ
และสังคม และศักยภาพของพื้นที่และคนในพื้นที่หรือไม่ เพื่อที่จะนำไปสู่จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดที่ดินให้ประชาชนในที่ดินประเภทป่าสงวนแห่งชาติ คุณสมบัติของผู้ที่
สมควรจะได้รับการจัดที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน สิทธิในที่ดิน และประโยชน์ตอบแทนรัฐที่เหมาะสม ดังนั้น
ในการศึกษานี้ จึงจะทำการศึกษาในรายละเอียดตามสภาพความเป็นจริงในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเขตป่า
สงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นประเภทที่ดินที่ได้มีการจัดที่ดินไปแล้วจำนวนมากที่สุด
2.3.7 สรุปผลบทเรียนและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าการดำเนินงานด้านการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของรัฐบาลที่
ผ่าน เพื่อแก้ไขความยากจนและแก้ไขความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่นำมาเป็น
บทเรียนในการดำเนินงานต่อไป ทั้งปัญหาเชิงนโยบาย กฎหมาย องค์กร และกระบวนการนำไปปฏิบัติ ใน
ประเด็นคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนและไม่แน่นอนของนโยบาย กฎหมายและวิธีการ
จัดที่ดินของหน่วยงานราชการต่าง ๆ มีลักษณะที่ไม่เหมือนกันและไม่มีการประสานนโยบายและแผนงาน
ระหว่างกันอย่างเหมาะสม ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับการจัดที่ดินตามนโยบายของรัฐทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและ
ประชาชน เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัญหาบางประการอาจได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ
ออกพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เพื่อให้มีคณะกรรมการนโยบายที่ดิน
แห่งชาติเพอทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ และการ
ื่
กำหนดมาตรการหรือแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ซึ่งรวมถึงรูปแบบการจัดที่ดินใน
ลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ หรือรูปแบบในลักษณะอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คทช. กำหนด
โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุด (มาตรา 10 (4)) และเพื่อให้เกิด
การบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ในหัวข้อนี้ จึงได้มีการสังเคราะห์บทเรียนที่ได้จากการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยจำแนกตามประเด็นที่
ั
เกี่ยวข้องกบหลักเกณฑ์ในการจัดที่ดินทำกินซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไข และจะเป็นประโยชน์แก่การวิเคราะห์แนว
ทางการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสำหรับการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของ คทช. ต่อไป
1) ความแตกต่างของหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกิน
ตามที่ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความแตกต่างของหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินตาม
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ข้างต้นนั้น จากการทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ยังพบว่าปัญหา
ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการจัดที่ดินของรัฐ ดังจะเห็นได้จากการศึกษาของคณะกรรมการ
48
พิจารณาปัญหาในการบริหารงานจัดที่ดิน (พ.ศ. 2520) ได้ระบุว่า หน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดที่ดินให้แก่ประชาชน
48 อ้างถึงใน โสภณ (2558). หน้า 4-1 และ 4-2.