Page 59 -
P. 59
ิ
ิ
์
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
44
ตะวันออกเฉียงเหนือนั้นประสบปัญหาความอุดมสมบูรณ์ต่ำเนื่องจากดินทรายที่ให้ผลผลิตน้อยนับเป็นปัจจัย
สำคัญที่ป่าจะต้องถูกบุกรุกต่อไป
การศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและ
ื่
เร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์แก่ประชาชน (พ.ศ. 2552) ระบุว่า การที่นําที่ดินเกษตรกรรมที่สมบูรณ์ไปใช้เพอ
55
กิจกรรมอื่น เช่น กิจการอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมลดน้อยลงตามลำดับ ผลกระทบที่
สำคัญคือ การประกอบเกษตรกรรมในยุคต่อไปจําเป็นจะต้องนําพื้นที่ที่ไม่อุดมสมบูรณ์นำมาใช้แทนทำให้
ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่ำทั้งปริมาณและคุณภาพส่งผลต่อแหล่งผลิตอาหารของชาติและของโลก
การศึกษาศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2562) พบว่าในการส่งเสริมและพัฒนา
อาชีพนั้น ยังคงประสบปัญหาว่ากฎหมายของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมและพัฒนา
อาชีพในพื้นที่ การจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินการไม่เพียงพอและขาดความต่อเนื่องในพื้นที่ดำเนินการ
เดิม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานในพื้นที่โครงการ คทช. แบบแยกส่วนและขาดความต่อเนื่อง ส่งผลต่อ
ื่
ประสิทธิภาพของการจัดสรรงบประมาณ การขาดการกำหนดแผนการดำเนินงานในระยะเพอสร้างความยั่งยืน
ในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ และในบางพื้นที่ขาดการสำรวจความต้องการของ
ประชาชนก่อนการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมไม่เป็นไปตามความต้องการ ขาดการมี
ส่วนร่วม และขาดความสนใจจากประชาชน
5) ความต้องการการถือครองที่ดินระยะยาว
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2528) ได้ศึกษาผลกระทบโครงการสิทธิทำกิน (สทก.)
56
และได้ระบุว่าลักษณะการขยายตัวของครอบครัว และค่านิยมของความรู้สึกเป็นเจ้าของที่ดินของราษฎร เป็น
ปัจจัยสำคัญในด้านสังคมที่ผลักดันให้ราษฎรต้องบุกรุกแผ้วถางเพื่อเตรียมแสดงความเป็นเจ้าของไว้ล่วงหน้า
แต่ความมุ่งหวังที่แท้จริงนั้นก็เพื่อให้ที่ดินนั้น ๆ เป็นมรดกให้แก่ลูกหลานต่อไป ยกเว้น นายทุน ซึ่งมีความรูสึก
้
อยากเข้ามาครอบครองที่ เพื่อแสดงอิทธิพลของตนเองมากกว่าความรู้สึกที่อยากได้ไว้เพื่อทำประโยชน์แก่
ประเทศชาติ และผลจากการศึกษาครั้งนี้ก็พอชี้ให้เห็นว่า ราษฎรส่วนใหญ่หวงแหนในกรรมสิทธิ์ สทก. ที่ตน
ได้รับ และส่วนมากไม่คิดโยกย้ายไปที่อื่นอีก
6) ปัญหาการซื้อขายเปลี่ยนมือ
การศึกษาของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. 2528) ระบุว่า ปัญหาการซื้อขาย
57
เปลี่ยนมือ สทก. นั้นมีอยู่บ้าง แต่เจ้าหน้าที่ขาดหลักฐานและพยานที่จะเพิกถอนตามเงื่อนไข เพราะเป็นการ
สมยอมกันเอง และทำกันอย่างลับๆ จึงยากที่จะดำเนินการเพิกถอนตามเงื่อนไขได้
55
อ้างถึงใน โสภณ (2558). หน้า 4-12 ถึง 4-14.
56 อ้างถึงใน โสภณ (2558). หน้า 4-16 ถึง 4-19.
57 อ้างแล้วข้างบนน ี้