Page 60 -
P. 60
ิ
ิ
์
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
45
นอกจากนี้ จากการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน กฎหมาย
58
เกี่ยวกับที่ดินและเร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์แกประชาชน (2552) การจัดที่ดินที่ผ่านมาไม่ได้ลดปัญหาเรื่องที่ดิน
่
ทำกิน และไม่อาจทำให้ผู้ที่ได้รับจัดที่ดินหลุดพ้นจากปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน มีบุคคลบางกลุ่มเข้าสวม
สิทธิในที่ดินที่จัดให้กับผู้ไร้ที่ดินทำกิน นอกจากนั้น ยังมีการครอบครองที่ดินของรัฐเป็นแปลงที่ดินขนาดใหญ่
โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับปัญหาการบริหารจัดการที่ดิน มีการแบ่งแยกพื้นที่ในการบริหารจัดการที่ดิน
ป่าไม้ออกเป็นเขตต่าง ๆ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ดังกล่าวมีความซ้ำซ้อน ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหน้าที่ และผลของการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหาทำให้การรักษาพื้นที่ป่าไม้ไม่มีประสิทธิภาพ
ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับราษฎร
7) กลไกการกำกับติดตามการปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ที่ดิน
จากปัญหาการซื้อขายเปลี่ยนมือดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จากการศึกษาของคณะวนศาสตร์
59
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2528) แสดงให้เห็นถึงปัญหาในการกำกับติดตามการปฏิบัติตามข้อกำหนดการ
ใช้ที่ดินและการใช้มาตรการการเพิกถอนสิทธิกรณีที่ผู้รับการจัดที่ดินปฏิบัติผิดเงื่อนไข โดยมีสาเหตุประการ
หนึ่งมาจากการขาดหน่วยงานย่อยที่มีหน้าที่ติดตามผลการใช้ที่ดินที่ราษฎรได้รับ สทก. ว่าเป็นไปตาม
หลักเกณฑ์หรือไม่ มากน้อยเพียงไร
จากการทบทวนงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องในหัวข้อ 2.3 นี้ พบว่าปัญหาหลักที่สำคัญที่มีผลต่อการจัด
ี่
ที่ดินคือการขาดกฎหมายกลางและองค์กรที่จะบูรณาการนโยบายและแผนงานของหน่วยงานของรัฐที่เกยวข้อง
ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันปัญหาหลักดังกล่าวได้รับการปรับปรุงแล้วโดยการออกพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สำหรับปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรได้รับการ
ปรับปรุงคือความแตกต่างเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินในกฎหมายฉบับต่าง ๆ ซึ่งได้มีการหยิบยกมา
ตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนแนวคิดการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนจะเกิดขึ้น แต่ยังคงไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคอื่นในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ขาดการสร้างความเข้าใจแก่
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนเกี่ยวกับเนื้อหาและการดำเนินตามนโยบาย แนวทางการดำเนินงานบาง
เรื่องยังไม่ชัดเจน เช่น ระบบการคัดเลือก กรณีผู้ครอบครองเสียชีวิต การแบ่งมรดก และกรณีชื่อไม่ตรงแปลง
เป็นต้น การส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสมและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่าภายใต้ข้อจำกัด
ื่
ด้านเนื้อที่ดินและศักยภาพของที่ดิน ประสิทธิภาพของการกำกับดูแลเพอป้องกันการซื้อขายเปลี่ยนมือและการ
กำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะได้นำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการระบุปัญหาและ
แสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินที่เป็นมาตรฐานต่อไป อย่างไรก็ตาม
การระบุปัญหาและแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินที่เป็นมาตรฐานนั้น จำเป็นที่จะต้องมี
58 อ้างถึงใน โสภณ (2558). หน้า 4-12 ถึง 4-14.
59 อ้างถึงใน โสภณ (2558). หน้า 4-16 ถึง 4-19.