Page 58 -
P. 58
ิ
์
ื
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
43
ก่อน ก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง และการศึกษาศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2562) พบปัญหาในการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของ คทช. ว่าข้อมูลรายชื่อบุคคลที่จะได้รับการจัดที่ดินไม ่
เป็นปัจจุบันหรือไม่ตรงกบความเป็นจริง ขาดการกำหนดหลักเกณฑ์จากระดับนโยบายสำหรับกรณีที่เป็นแปลง
ั
ว่าง เช่น ผู้ครอบครองเสียชีวิต การแบ่งมรดก และชื่อไม่ตรงแปลง และความล่าช้าในการดำเนินงานในกรณี
การครอบครองที่ดินเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากไม่ได้ดำเนินการแบ่งแปลงจากหน่วยงานเข้าของ
52
พื้นที่ให้เรียบร้อย
ดังนั้น ระบบการคัดเลือกผู้ที่จะได้รับการจัดที่ดิน รวมถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับที่ดินแปลง
ว่างที่ดินแปลงว่าหรือที่ดินได้รับการตกทอดทางมรดกก่อนที่จะได้รับการจัดที่ดินควรมีแนวทางดำเนินการที่
เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
4) การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสมและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่าภายใต้ข้อจำกัด
ด้านเนื้อที่ดินและศักยภาพของที่ดิน
งานศึกษาหลายฉบับ ระบุถึงปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ในประเด็นด้านการ
่
วางแผนการใช้ที่ดิน การพิจารณาศักยภาพของที่ดินและการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ การคำนึงถึงผลผลิตทีได้
จากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความต้องการของผู้ที่ได้รับการจัดที่ดิน เป็นต้น ซึ่งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็น
ื่
ปัจจัยในการส่งเสริมให้มีการใช้ที่ดินที่มีเนื้อที่จำกัดเพอให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด เพื่อให้ประชาชนผู้ยากไร้หลุด
พ้นจากความยากจน
จากการศึกษาของคณะทำงานศึกษาเรื่องการจัดที่ดินเพื่อพัฒนา (พ.ศ. 2522) ระบุถึงปัญหาการวาง
53
่
ื่
แผนการใช้ที่ดิน ว่าการใช้ที่ดินเพอการเกษตรที่มีลักษณะและแผนงานที่คอนข้างจะแน่ชัดคงจะมีเฉพาะในเขต
ที่ดินภายใต้การชลประทานบางโครงการ และโครงการจัดที่ดินของรัฐบาลบางประเภทเท่านั้น สำหรับเขตที่
นอกเหนือไปจากนี้แม้จะได้มีการกำหนด “เขตเศรษฐกิจเกษตร” ไว้อย่างกว้าง ๆ และในทํานองเดียวกันกรม
พัฒนาที่ดินได้ทำการสํารวจสภาพการใช้ที่ดินแล้วก็ตาม แต่ก็ยังขาดมาตรการหรือโครงการเพอจัดใช้ที่ดิน เพอ
ื่
ื่
ส่งเสริมการผลิตให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ที่ดินในเขตที่สูงเชิงเขา ที่ดินชายทะเลที่ดิน
เปรี้ยวและดินเค็ม และที่ราบตอนกลางภาคใต้ ปัจจุบันยังขาดการสำรวจข้อมูลทางวิชาการที่แน่ชัดในการที่จะ
นําที่ดินเหล่านี้มาใช้ให้เหมาะสมด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
การศึกษาของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2528) ระบุว่าด้วยภาวะทางเศรษฐกิจ
54
การขยับขยายหาที่ทำกินใหม่การต้องการที่ดินเพิ่มมากขึ้น และต้องการบุกเบิกป่าใหม่นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจาก
พื้นที่ ๆ ได้รับ สทก. อยู่มาก โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนน้ำนั้นเกิดขึ้นในทุกภาคแม้แต่ในเขตภาคใต้บาง
ท้องที่ ปัญหานี้ส่วนมากจะเกิดในบริเวณที่ดอน และที่ลาดเชิงเขา ในภาคเหนือ ส่วนในภาค
52 ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2562). หน้า 6-16.
53 อ้างถึงใน โสภณ (2558). หน้า 4-2 ถึง 4-3.
54 อ้างถึงใน โสภณ (2558). หน้า 4-16 ถึง 4-19.