Page 53 -
P. 53
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
38
การสนับสนุนเกษตรที่ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตจากเกษตรที่ใช้สารเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ และสร้างช่องทาง
การตลาดให้เกษตรกรเข้าถึงผู้บริโภค เป็นต้น
2.3.6 ผลการดำเนินโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2561) ได้จัดทำรายงานการประเมินผล
46
สัมฤทธิ์โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ปี 2561 โดยศึกษาในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน
โดยสรุปประเด็นจากการประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในแต่ละองค์ประกอบ
ได้ดังนี้ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่านโยบายรัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการจัดที่ดิน
ทำกินให้ชุมชน โดยเน้นการแก้ไขปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและการรุกล้ำเขตป่าสงวน และออก
มาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่ใช่เกษตรกร รวมทั้งการเร่งรัดจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้
ยากไร้โดยไม่ต้องเป็นกรรมสิทธิ์แต่รับรองสิทธิร่วมในการจัดการที่ดินของชุมชน
ด้านการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้า ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พบว่ารายได้ของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.68
มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี จากการสอบถามสมาชิกโครงการพบว่ามีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับ
แนวทางการจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวมในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยยังคงต้องการกรรมสิทธิ์ใน
ที่ดินรายแปลง เพื่อที่จะนำเอกสารสิทธิ์ไปขอรับความช่วยเหลืองจากทางราชการหรือขึ้นทะเบียนต่าง ๆ ตาม
กฎหมาย ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเร่งทำความเข้าใจแก่สมาชิกให้เห็นด้วยกับแนวทางจัดที่ดินดังกล่าวเพอ
ื่
ประโยชน์ต่อความมั่นคงในการถือครองที่ดินของครัวเรือนในระยะยาว อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมโครงการส่วน
ใหญ่เห็นว่านโยบายนี้เป็นประโยชน์โดยตรงและช่วยแก้ไขปัญหาปัญหาการถือครองที่ดิน ซึ่งสมาชิกได้รับการ
เปลี่ยนสถานะจากผู้บุกรุกเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ด้าน
สภาพของที่ดินพบว่าในบางพื้นที่เขตเขตที่ดินยังไม่ชัดเจน มีการทับซ้อนกับที่ดินของรัฐประเภทอื่นซึ่งส่งผล
กระทบต่อกระบวนการจัดที่ดิน ในด้านงบประมาณและบุคลากร พบว่างบประมาณและจำนวนบุคลากรที่ทำ
หน้าที่ตรวจสอบ รังวัด แบ่งแปลงในกระบวนการจัดหาที่ดิน และกระบวนการจัดที่ดินคัดเลือกราษฎรยังไม่
เพียงพอ
ด้านการวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นพื้นที่ที่มีการสำรวจข้อมูลการ
ถือครองที่ดินตามมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 จึงมีฐานข้อมูลการแบ่งแปลงที่ดินและรายชื่อผู้ถือครอง
เดิมแล้ว แต่จะต้องนำมาตรวจสอบให้เป็นปัจจุบัน ในการจัดที่ดิน กรณีผู้ครอบครองรายใหม่ที่มีการเปลี่ยนมือ
ภาครัฐยังคงดำเนินการได้ล่าช้า เนื่องจากการต้องใช้เวลาในการตรวจสอบคุณสมบัติและ คทช. จังหวัดสามารถ
ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคุณสมบัติได้เป็นการเฉพาะราย ในด้านความเห็นต่อหลักเกณฑ์การจัดที่ดิน ส่วน
ใหญ่เห็นด้วย แต่ในส่วนของหลักเกณฑ์การจัดที่ดินให้ไม่เกิน 20 ไร่นั้น แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบส่วนใหญ่จะเห็น
ว่าเหมาะสมแต่น้อยกว่าหลักเกณฑ์ข้ออื่น ๆ เนื่องจากบางพื้นที่มีการถือครองมาเป็นเวลานานและทำไร่
46 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ปี
2561. เข้าถึงข้อมูลที่ www.nesdc.go.th.