Page 57 -
P. 57
ิ
ิ
ิ
ิ
ื
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
42
มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดที่ดิน จำนวนที่ดินที่จัดให้ การส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และการจัดสร้าง
ึ
สาธารณูปการ รวมตลอดถงการเรียกเก็บเงินชดเชยทุนของรัฐบาล ให้เป็นไปในแนวเดียวกันหรือสอดคล้องกัน
ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการจัดบริการของรัฐและบางกรณีก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมแก่ประชาชน
ผู้รับบริการด้วย นอกจากนี้ ในการศึกษาของคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านโครงสร้างการบริหาร (พ.ศ.
49
2525) ยังได้ระบุว่า การจัดที่ดินในพื้นที่ต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์และวิธีดําเนินงานแตกต่างกัน ทั้งจำนวนพื้นที่
และความช่วยเหลือของหน่วยงานนั้น ๆ ที่ให้กับราษฎรเป็นการสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมทางหนึ่ง
จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างของหลักเกณฑ์การจัดที่ดินทำกินที่กำหนดไว้
ในกฎหมายฉบับต่าง ๆ ก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมแก่ประชาชน และสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม
2) ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อป้องกันปัญหาการโอนเปลี่ยนมือการครอบครองและใช้ประใยชน์ในที่ดิน และให้การบริหาร
จัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินมีประสิทธิภาพโดยให้ประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินได้มีส่วนร่วมในการบริหาร
จัดการ ดังนั้น ในปี 2553 จึงได้มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.
2553 โดยการนำที่ดินของรัฐมาจัดเป็นโฉนดชุมชน กล่าวคือ เป็นหนังสืออนุญาตให้ชุมชนร่วมกันบริหาร
จัดการ การครอบครอง และใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเพื่อสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยและการใช้
ประโยชน์ในที่ดินชุมชน ซึ่งชุมชนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนปฏิบัติ
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยกฎหมาย แม้ว่าหลักการดังกล่าวนี้ จะระบุไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีอย่าง
ชัดเจน แต่จากผลการศึกษาของธันภัทร (2557) ระบุว่ามีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจไม่ตรงกันเกี่ยวกับคำว่า
“กรรมสิทธิ์ร่วม” ซึ่งส่วนหนึ่งตีความว่าหมายถึงสิทธิความเป็นเจ้าของในที่ดินร่วมกัน ในขณะที่บางส่วนเข้าใจ
ว่าเป็นสิทธิร่วมกันโดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเจ้าของที่ดินผืนดังกล่าวหรือไม่
50
จากบทเรียนดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าในการนำโครงการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของ คทช. ไป
ปฏิบัติ ซึ่งเป็นการอนุญาตแบบแปลงรวม โดยไม่ได้กรรมสิทธิ์ อาจจำเป็นต้องมีหลักการที่กำหนดไว้อย่าง
ชัดเจนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนเข้าใจตรงกันว่าผู้ที่ได้รับจัดที่ดินมีสิทธิในที่ดินเพียงใด
3) ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน
จากการศึกษาของคณะทำงานศึกษาเรื่องการจัดที่ดินเพื่อพัฒนา (พ.ศ. 2522) ระบุว่า การจัดที่ดิน
51
ยังขาดระบบการคัดเลือกราษฎรที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือย้อนหลังเปิดช่องว่างให้ผู้มีความเดือดร้อนน้อยมี
โอกาสได้รับความช่วยเหลือก่อน ผู้มีความเดือดร้อนมากซึ่งในส่วนรวมแล้วก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่
เกษตรกรในพื้นที่ที่มีปัญหาการถือครองที่ดินรุนแรง นอกจากนี้ การรับราษฎรที่ไม่เคยมีอาชีพทางเกษตรมา
49 อ้างถึงใน โสภณ (2558). หน้า 4-3 ถึง 4-7.
50 ธันภัทร (2557). หน้า 13.
51 อ้างถึงใน โสภณ (2558). หน้า 4-2 ถึง 4-3.