Page 56 -
P. 56
ั
์
ิ
ุ
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกส เฉลมพระเกียรตสมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
ื
ภาษาจีนเพื่อการล่ามในธุรกิจ
1. ศักราช ชื่อเรียกเดือนและชื่อเรียกวันในภาษาจีนและ
ภาษาไทยต่างกัน ในปัจจุบันจีนใช้ปีคริสตศักราช ส่วนไทยใช้ปี
ุ
พุทธศักราช คนจีนไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับปีพทธศักราช การแปลภาษา
ไทยเป็นภาษาจีนต้องลบด้วย 543 เพอเปลี่ยนเป็นคริสตศักราชให้
ื่
คนจีนเสมอ แต่ถ้าเป็นการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยให้คนไทยในวัย
หนุ่มสาว ล่ามจะแปลงเป็นพทธศักราชหรือไม่ก็ได้ เพราะคนกลุ่มนี้
ุ
ั
่
คุ้นเคยกับคริสตศักราชพอสมควร แต่ถ้าเป็นการแปลให้ผู้ใหญฟง ควร
แปลงเป็นพุทธศักราชเพื่ออ านวยความสะดวกต่อผู้ฟัง
ส าหรับประเด็นเรื่องการเรียกเดือน ไทยนับชื่อเดือนจาก
มกราคมจนถึงธันวาคม ในขณะที่ภาษาจีนไล่ตั้งแต่เลข 1 ถึงเลข 12
ตามปฏิทินสากล การแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนแปลงจากชื่อเรียก
ี
เดือนไปเป็น 1-12 ท าได้อย่างง่ายดาย เพยงแต่ล่ามต้องแม่นล าดับ
เดือน จึงแปลได้รวดเร็วไม่ผิดพลาด ส่วนการแปลภาษาจีนเป็น
ภาษาไทย ไม่ควรแปลตรงตัวโดยใช้ตัวเลข เช่นแปล 三月
ในภาษาจีนเป็น “เดือนสาม” เพราะผู้ฟังชาวไทยไม่คุ้นกับวิธีการบอก
ั
่
์
เดือนแบบนี้ จากประสบการณของผู้เขียน ผู้ฟงที่เป็นผู้ใหญมากเคย
ถามกลับมาว่า เดือน 3 ที่ว่านั้นคือเดือนตามปฏิทินจีนหรือเดือนตาม
ปฏิทินไทยซึ่งไม่ตรงกัน อันที่จริงไม่ตรงทั้งคู่เพราะเป็นล าดับตาม
ปฏิทินสากล ฉะนั้นควรแปลงกลับเป็นเดือนมีนาคม
ในส่วนของชื่อเรียกวันก็เป็นลักษณะคล้ายคลึงกัน ภาษาจีน
เรียกวันตามตัวเลขโดยนับวันจันทร์เป็นเลข 1 ไล่ถึงวันเสาร์เป็น
เลข 6 คือ 星期一 ถึง 星期六 แล้วจึงใช้ค าว่า 星期日 หรือ 星期天
บทที่ 4 การแปลตัวเลข มาตราชั่ง ตวง วัด เวลา 47