Page 92 -
P. 92
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
เวลาเป็นอีกเรื่องที่มีปัญหา ผู้แปลติดไวยากรณ์จีนจึงวางเวลาไว้หลัง
ประธาน ต้องปรับเป็นหน้าประธานหรือท้ายประโยค โดยอาจแปลงปี
ค.ศ.เป็น ปี พ.ศ.ก็ได้ เพื่อให้สะดวกต่อผู้อ่านชาวไทย ประเด็น
สุดท้ายคือชื่อเรื่อง ถ้าจะถ่ายถอดเสียงภาษาจีนเป็นภาษาไทยต้อง
ถ่ายถอดให้ถูกต้องตามหลักการ ซึ่งเรื่องนี จะได้กล่าวถึงเป็นบทแยก
มาต่างหากในหนังสือเล่มนี ถ้าจะถ่ายถอดเสียงสามารถถอดได้หลาย
เกณฑ์เป็น ซาน / ซัน + กั๋ว / กว๋อ + เหยี่ยน + อี หรือจะแปลว่า
“นิยายเรื่องสามก๊ก” “นิยายอิงพงศาวดารเรื่องสามก๊ก” หรือ
“พงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก” ก็ได้ทั งสิ น โดยค าว่า “พงศาวดารจีน”
นี หมายถึงนิยายอิงประวัติศาสตร์จีน มิได้หมายถึงหนังสือ
ประวัติศาสตร์ แต่หมายถึงนิยายอิงพงศาวดาร ประโยคนี แปลได้
หลายแบบ เปลี่ยนประธาน เวลา และโครงสร้างถูกกระท า เช่น
นิยายเรื่องสามก๊กแปลเป็นภาษาไทยในปี ค.ศ. 1802
นิยายอิงพงศาวดารเรื่องสามก๊กแปลเป็นภาษาไทยในปี พ.ศ.
2345
ในปีพุทธศักราช 2345 มีการแปลพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก
เป็นภาษาไทย
ในปี ค.ศ. 1802 ได้มีการแปลเรื่อง “ซานกั๋วเหยี่ยนอี ” เป็น
ภาษาไทย
ประโยคที่ 8 新来的老师希望能很快地被学生接受。
ประโยคนี เป็นปัญหาที่ค าว่า “ถูก” เช่นกัน แต่โครงสร้างถูก
กระท านี เป็นกรรมของกริยา 希望 (หวัง) ผู้เรียนส่วนใหญ่แปลว่า
บทที่ 5 การแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษ 85