Page 88 -
P. 88
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
ประโยคถูกกระท าหรือ 被字句 มักใช้กับเรื่องไม่ดีหรือไม่สม
ปรารถนา ถ้าเป็นเรื่องดีจะใช้เป็นประโยคประธาน+กริยา+กรรม เช่น
他得到赞赏。(เขาได้รับค าชม) แต่อย่างไรก็ดี การใช้ 被 โดยไม่มี
ความหมายในเชิงลบก็มีปรากฏทั่วไป เช่น 他被选为代表。(เขา
ถูกเลือกเป็นตัวแทน) อนึ่ง ประโยคที่แสดงความหมายถูกกระท าไม่
จ าเป็นต้องใช้ 被 หรือค าอื่นที่แสดงว่า “ถูก” กระท า แต่ก็ได้
ความหมายเป็นถูกกระท าอยู่ดี เช่น 衣服洗好了。(เสื อผ้าซักเสร็จ
แล้ว) เสื อผ้าไม่ได้ซักตัวเอง เป็นสิ่งที่ถูกซัก แต่ผู้พูดไม่ต้องการเน้น
ผู้ซัก ต้องการเพียงบอกว่าเสื อผ้าซักเสร็จแล้ว การละ 被 นี ใช้ทั่วไป
ให้ความรู้สึกเป็นการบอกข้อเท็จจริงที่เกิดขึ น
ในภาษาไทย ประโยคที่แสดงว่าประธานเป็นผู้ถูกกระท า
เรียกว่าประโยคกรรมวาจก เมื่อใช้ค าว่า “ถูก” “โดน” มักมีความไป
ในทางไม่ดีเช่นกัน เป็นต้นว่า “เด็กถูกตี” “ผมโดนแม่ดุ” ถ้าเป็นเรื่อง
ดีจะใช้ค าว่า “ได้รับ” โดยสิ่งที่ตามมาไม่ใช่กริยา แต่เป็นนาม เช่น
“เขาได้รับค าชม” ซึ่งเท่ากับกลายเป็นประโยคกรรตุวาจก ประธาน+
กริยา+กรรม แต่มีนัยของการได้รับ ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็น การ “ถูก
กระท า” ในแง่บวก นอกจากนี มีประเด็นที่เหมือนกับภาษาจีน
ประโยคที่แสดงความหมายถูกกระท าไม่จ าเป็นต้องใช้ค าว่า “ถูก” แต่
ก็ได้ความหมายเป็นถูกกระท าอยู่ดี เช่น “หนังสือเล่มนี เขียนน่าเบื่อ”
“จดหมายฉบับนี เขียนเมื่อปีกลาย” “นิราศเมืองแกลงแต่งขึ นโดย
สุนทรภู่”
บทที่ 5 การแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษ 81