Page 85 -
P. 85
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
บทที่ 5
การแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษ
ภาษาไทยจ าแนกชนิดของประโยคเป็นประโยคความเดียว
ประโยคความรวมและประโยคความซ้อน แต่ภาษาจีนมองอนุ
ประโยคหรือประโยคย่อยเป็นบทขยายซึ่งซ่อนอยู่ในประโยคความ
เดียวหรือประโยคความรวม จึงแบ่งประโยคเป็นเพียงประโยคความ
เดียว(单句)และประโยคความรวม(复句)ผู้เขียนได้อธิบาย
เรื่องบทขยายไปแล้วในบทที่ 4 จึงจะไม่กล่าวซ า ส่วนประโยคความ
รวมจะได้กล่าวถึงในบทที่ 6 ในบทนี จะได้กล่าวถึงปัญหาการแปล
และวิธีแก้ไขการแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษของจีนที่มักมีปัญหา
ในการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยแบ่งตามหนังสือ《实用现代
汉语语法》ซึ่งได้จ าแนกประโยคความเดียวที่มีลักษณะพิเศษไว้ 7
ประเภท ประกอบด้วย ประโยค “คือ”(“是”字句)ประโยค
“มี”(“有”字句)ประโยคกริยาเรียง(连动句)ประโยคควบ
ต าแหน่ง(兼语句)ประโยคแสดงการด ารงอยู่(存现句)
ประโยค 把(把字句)และ ประโยคถูกกระท า(被字句)แต่
ในหนังสือเล่มนี ผู้เขียนจะกล่าวถึงปัญหาการแปลและวิธีแก้ไขการ
แปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษของจีนเพียง 5 ประเภทเท่านั นคือ
ประโยคถูกกระท า ประโยค 把 ประโยคกริยาเรียง ประโยคควบ
78 บทที่ 5 การแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษ