Page 27 -
P. 27

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

              ตรวจทานรอบแรกกับรอบที่สองไปท างานแปลอย่างอื่นหรือท า

              กิจกรรมอื่น เมื่อย้อนกลับมาดูใหม่จะพบปัญหาในงานแปลที่ตรวจไม่

              พบในรอบแรก หากเป็นไปได้ ในช่วงพักนั้นอาจเปลี่ยนจากการอ่าน
              หนังสือที่เป็นภาษาเดียวกับภาษาต้นฉบับมาอ่านหนังสือเฉพาะด้าน

              หรือหนังสืออื่นที่ใช้ภาษาดีและเป็นภาษาเดียวกับภาษาฉบับแปล
              เพื่อซึมซับภาษาในแวดวงที่ผู้อ่านงานแปลชิ้นนั้นนิยมใช้ การ “ผละ”

              ออกจากต้นฉบับและฉบับแปลเป็นระยะเวลาสั้นๆ จะช่วยเพิ่ม
              ประสิทธิภาพในการตรวจแก้ไขงานแปล

                     4. รับข้อมูลป้อนกลับจากผู้อื่นเพื่อการพัฒนา

                     หากงานแปลนั้นไม่ใช่ความลับ อาจให้ผู้อื่นช่วยอ่านเพื่อ
              พัฒนางานแปลนั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในกรณีที่เป็นการแปลให้

              ส านักพิมพ์ บางส านักพิมพ์จะมีบรรณาธิการพิเศษประจ าเล่มช่วย
              ตรวจสอบความถูกต้องตรงกันกับต้นฉบับและช่วยปรับส านวนแปลให้

              ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้มากขึ้น ในบางกรณีอาจมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
              ด้านในศาสตร์ของหนังสือนั้นช่วยอ่านเพื่อตรวจสอบว่าน่าจะแปลถูก

              หรือไม่ แปลแล้วอ่านเข้าใจหรือไม่ เมื่อผู้แปลได้รับข้อมูลป้อนกลับก็
              ควรน ามาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงานแปลชิ้นนั้นหรืองานแปลอื่นใน

              อนาคต ในกรณีที่ไม่มีบรรณาธิการพิเศษประจ าเล่มหรือผู้เชี่ยวชาญ
              เฉพาะด้าน การให้คนทั่วไปที่อยู่ในข่ายของกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายช่วย

              อ่านก่อนเผยแพร่จริงก็นับว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ผู้แปลจะได้ทราบ

              ว่าตนแปลไม่สื่อความในที่ใด จะได้ปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที อย่างไร
              ก็ดี ขั้นตอนการรับข้อมูลป้อนกลับนี่มิได้สิ้นสุดลงเมื่อส่งงานแปล




              20                                                          บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการ
              แปล
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32