Page 25 -
P. 25
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
วางแผนการท างานอย่างดี มิฉะนั้นอาจส่งผลให้งานไม่ส าเร็จดังที่
ตั้งใจไว้
2.ลงมือแปลโดยใช้แนวคิดการเข้าใจความหมาย-แยก
ความหมายออกจากภาษา - กล่าวความหมายซ้ าเป็นอีกภาษาหนึ่ง
ผู้แปลต้องอ่านต้นฉบับให้เข้าใจก่อนลงมือแปล ควรอ่าน
ต้นฉบับให้จบ ยกเว้นกรณีที่เป็นผลงานประเภทนวนิยายออนไลน์
ซึ่งอาจยังลงไม่จบ การอ่านต้นฉบับให้จบหมดก่อนจะช่วยลดทอน
ความผิดพลาดในการแปลได้มาก สิ่งที่ผู้แปลติดขัดอาจได้รับความ
กระจ่างเมื่ออ่านต่อไป เมื่อมีความเข้าใจในระดับหนึ่งแล้วจึงลงมือ
แปล ในการแปลต้องแยกความหมายออกจากภาษาต้นฉบับให้ได้ ผู้
แปลต้อง “ผละ” ความหมายออกจากภาษาต้นฉบับ ผู้แปลควรเข้าใจ
ธรรมชาติของโครงสร้างภาษาและการล าดับความคิดของทั้ง
ภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปล เพราะการแปลเป็นการสื่อสาร
ความหมายและความคิดแท้จริงที่อยู่เบื้องหลังโครงสร้างภาษาซึ่งเป็น
เพียงเครื่องมือในการถ่ายทอดความหมาย ผู้แปลพึงทราบว่าหากจะ
ถ่ายทอดความหมายเช่นนั้น อารมณ์ ความรู้สึก น้ าเสียงเช่นนั้น
ควรเรียบเรียงอย่างไรให้เป็นธรรมชาติในภาษาฉบับแปล
อนึ่ง พึงระลึกว่าการแปลในยุคปัจจุบันให้ความส าคัญกับการ
เคารพต้นฉบับ ผู้แปลไม่ควรกระท าการใดๆ ที่จะส่งผลให้ความเข้าใจ
ต่อความหมายคลาดเคลื่อนไป หากแปลไม่ได้เพราะไม่สามารถ
ค้นคว้าได้จริงๆ ทั้งที่พยายามค้นคว้าและสอบถามอย่างสุด
ความสามารถแล้ว ต้องวิเคราะห์ว่าจะตัดทิ้งหรือท าเชิงอรรถว่าไม่
18 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแปล