Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

                     “ด้วยเหตุนี้เราจึงพูดได้ว่ากระบวนการแปลเป็นกระบวนการ

              ของการท าความเข้าใจความหมาย และการถ่ายทอดความหมาย

              มากกว่าจะเป็นแค่การเปรียบเทียบภาษา ถ้าไม่นับพวกเด็กเล็กๆ
              แล้ว เมื่อคนเราพูดถ้อยค าอะไรออกมา เขาจะพูดโดยมุ่งหวังให้เกิด

              ความเข้าใจ มิใช่แค่น าเอาค ามาวางเรียงปะติดปะต่อกันในรูปของ
              ประโยค โดยไม่ก่อให้เกิดความหมายอันใด ไม่มีผู้ใดพูดโดยไม่มี

              เจตนาจะสื่อสาร ในท านองเดียวกันไม่มีใครที่จะได้ยินหรืออ่านอะไร
              โดยไม่รับรู้หรือตีความอะไรเลย ในฐานะที่เป็นนักอ่านที่จะต้องท า

              ความเข้าใจสารในต้นฉบับ และนักเขียนที่จะต้องถ่ายทอดสาร

              เดียวกันนั้นให้ผู้อ่านบทแปลได้เข้าใจ นักแปลทราบดีว่าเขาไม่ได้แปล
              จากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง แต่เขาต้องเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้นฉบับ

              ต้องการสื่อ และถ่ายทอดออกมาในรูปภาษาที่ผู้อ่านบทแปลเข้าใจได้
              การที่นักแปลสามารถท าให้เจตจ านงของผู้เขียนที่จะสื่อสารได้มา

              บรรจบเข้าอย่างเหมาะเจาะกับเจตจ านงของผู้อ่านที่จะเข้าใจสาร ถือ
              ได้ว่าเป็นความงดงาม และความมีคุณค่าของการท างานแปล”

              (เลเดแรร์, 1984 แปลโดย จิระพรรษ์ บุณยเกียรติ และคณะ,
              2540: 9)


                     จะเห็นได้ว่า นอกจากความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับ
              แปล ผู้แปลยังต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะแปลและรู้จักกลุ่มผู้อ่าน

              ฉบับแปลด้วย ผู้แปลเป็นผู้มีบทบาทส าคัญยิ่งในการตัดสินใจเลือก
              รูปแบบของการแปลว่า เมื่อใดจะรักษารูปแบบและความหมายใน

              ภาษาต้นฉบับ และเมื่อใดจะปรับบทแปลให้เหมาะสมกับผู้อ่านของ



              บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแปล                                                           13
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25