Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
许钧 (2003:75) อธิบายว่าการแปลเป็นกิจกรรมการสื่อสาร
ข้ามวัฒนธรรมที่ใช้การเปลี่ยนสัญลักษณ์เป็นวิธีการ ถือการเกิดขึ้น
ใหม่ของความหมายเป็นภารกิจ
สรุปได้ว่า การแปลเป็นกิจกรรมทางภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ข้ามวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมที่ผู้แปลท าหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง
ผู้ใช้ภาษาต่างกัน หัวใจหลักของการแปลคือ “ความหมาย” ซึ่ง
ต้องอาศัยความเข้าใจในต้นฉบับและความสามารถในการถ่ายทอด
ความหมายให้ผู้อ่านฉบับแปลเข้าใจ
รูปแบบหรือลักษณะการแปล
เรามักได้ยินค าวิจารณ์งานแปลทั้งที่ว่า “แปลตรงเกินไป” กับ
“แปลไม่เหมือนต้นฉบับ” ถ้าเป็นคนละชิ้นงานยังพอเข้าใจได้ว่างาน
ต่างประเภทกันอาจมีรูปแบบหรือลักษณะการแปลต่างกัน แต่ที่พบก็
คืองานเดียวกันอาจมีค าวิจารณ์จากผู้อ่านคนละคนในทางตรงกันข้าม
ศิษย์เก่าของผู้เขียนที่จบไปแล้วประกอบอาชีพนักแปลคนหนึ่งเคย
กลับมาเล่าให้ฟังว่า นักอ่านบางคนวิจารณ์นวนิยายแปลของตนว่า
แปลตรงเกินไป ติดกลิ่นอายความเป็นจีนจนอ่านไม่รู้เรื่องในบางตอน
ในขณะที่นักอ่านบางคนก็วิจารณ์ว่าภาษาเป็นไทยมากเกินไป อ่าน
แล้วไม่ได้อรรถรสความเป็นจีนมากพอ ท าให้รู้สึกงุนงง และท้ายที่สุด
ก็กลับมาถามผู้เขียนซึ่งเป็นผู้สอนวิชาการแปลว่า แท้จริงแล้ว ส านวน
ของตนเรียกได้ว่าแปลตรงเกินไปหรือแปลไม่เหมือนต้นฉบับกันแน่
10 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแปล