Page 18 -
P. 18

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

              และตนควรจะแปลแบบตรงตัวหรือแปลแบบเอาความจึงจะดี ถ้าแปล

              แบบเอาความ ต้องระดับไหนถึงจะเรียกได้ว่าพอดี

                     ก่อนอื่น เรามาดูความแตกต่างระหว่างรูปแบบหรือลักษณะ

              การแปลก่อน

                      Newmark (1988:45-47) แบ่งการแปลเป็น 2 ประเภท

              โดยใช้หลักการแบ่งแยกระหว่างภาษาต้นทางหรือภาษาต้นฉบับ
              (Source Language) กับภาษาเป้าหมายหรือภาษาฉบับแปล

              (Target Language) เป็น การแปลแบบเน้นที่การรักษาภาษาต้นทาง
              หรือภาษาต้นฉบับ (SL emphasis) กับ การแปลแบบเน้นที่ความ

              เข้าใจของผู้อ่านในภาษาเป้าหมายหรือภาษาฉบับแปล

              (TL emphasis) ทั้งนี้ นิวมาร์กได้เสนอรูปแบบหรือวิธีแปลแบ่งย่อย
              เป็น 8 แบบ คือ การแปลค าต่อค า (Word-for-word translation)

              การแปลตรงตัว (Literal translation) การแปลรักษารูปรักษาความ
              (Faithful translation) การแปลครบความ (Semantic Translation)

              การดัดแปลง (Adaptation) การแปลอิสระ (Free Translation)
              การแปลเก็บความ (Idiomatic  Translation)  และการแปลสื่อความ

              (Communicative Translation) โดยสี่รูปแบบแรกนั้นเน้นที่การรักษา

              ภาษาต้นทางหรือต้นฉบับ ในขณะที่สี่รูปแบบหลักเน้น
              ภาษาเป้าหมายหรือภาษาฉบับแปล

                     สัญฉวี สายบัว (2550:43-44) แบ่งลักษณะการแปลเป็น

              สองประเภท เช่น การแปลแบบตรงตัว กับ การแปลแบบเอาความ
              โดยการแปลแบบตรงตัว (literal translation) คือการแปลที่พยายาม


              บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแปล                                                           11
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23