Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
ความหมายออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่จะท าได้ โดยรักษาสมดุลระหว่าง
เจตจ านงของผู้เขียนในการสื่อสารและเจตจ านงของผู้อ่านในการรับ
สาร ส าหรับผู้แปลมือใหม่ที่กังวลว่าตนจะแปลผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ
หรือไม่ อาจใช้หลักการว่า เมื่อใดแปลตรงตัวได้ อ่านรู้เรื่องก็แปลตรง
ตัว เมื่อใดแปลตรงตัวแล้วไม่สื่อความหรือได้ความหมายไม่ตรงกับที่
ต้นฉบับก็ปรับส านวนแปลจนสื่อความได้
ขั้นตอนการแปล
โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับขั้นตอนการแปล
ขั้นตอนที่ไม่อาจขาดไปได้คือท าความเข้าใจต้นฉบับกับถ่ายทอดเป็น
ภาษาฉบับแปล นักทฤษฎีการแปลต่างๆ กันอาจเพิ่มขั้นตอนอื่นๆ
เพิ่มเติมเช่น การเตรียมความพร้อมก่อนแปลและการจัดการฉบับ
แปลหลังแปลด้วยการตรวจสอบและการเกลาแก้
ในส่วนขั้นตอนการแปลแท้ๆ ไม่รวมขั้นตอนก่อนและหลังนั้น
สุพรรณี ปิ่นมณี ได้กล่าวถึงข้อสรุปของ Albir และ Alves ที่สรุป
ทฤษฎีกระบวนการแปลของนักวิจัยชั้นน าแห่ง École Supérieure
d’Interprètes et de Traducteurs เช่น Seleskovitch และ Lederer
ไว้ว่าทฤษฎีดังกล่าวมี 3 ขั้นตอนคือ
1. ขั้นตอนท าความเข้าใจ (understanding) เป็นกระบวนการ
ตีความซึ่งจะน าไปสู่การสรุปความหมาย ซึ่งความรู้ด้านภาษา
(linguistic knowledge) อย่างเดียวนั้นไม่พอเพียง จ าเป็นต้องมี
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแปล 15