Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
รักษารูปแบบของการเสนอความคิดของต้นฉบับไว้ในฉบับแปลให้ได้
มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ รูปแบบที่ว่านี้หมายถึงค า ระเบียบวิธีการ
เรียงค า ระเบียบวิธีการจัดกลุ่มความหมายเข้าเป็นประโยค และการ
เรียงประโยคเข้าเป็นข้อความที่ใหญ่ขึ้นไปตามล าดับ และรวมถึงการ
ใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ด้วย ส่วนการแปลแบบเอาความ
(free translation) มีรูปแบบที่ใช้ในการถ่ายทอดภาษาที่อาจจะ
แตกต่างไปจากรูปแบบที่ใช้ในต้นฉบับ อีกประการหนึ่งคือการ
เรียงล าดับความคิดอาจจะไม่เหมือนกัน ประโยคหรือวลีใดที่กล่าวไว้
เป็นอันดับต้นๆ ในต้นฉบับอาจถูกจัดให้อยู่ในล าดับหลังๆ ในงานแปล
โดยมีความมุ่งหมายอยู่ประการเดียวคือ เพื่อท าให้งานแปลนี้สามารถ
ท าหน้าที่สื่อความหมายของต้นฉบับไปสู่ผู้อ่านได้อย่างแน่นอน ขจัด
เหตุที่ท าให้ผู้อ่านอ่านไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดพลาด ความหมายและ
ความเข้าใจส าคัญกว่าอย่างอื่น จึงเป็นธรรมดาที่รูปแบบการน าเสนอ
ความคิด (โครงสร้างวลี,ประโยค) ของต้นฉบับซึ่งผู้อ่านไม่คุ้นเคยจะ
เอามาใช้ไม่ได้ในบทแปล
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การแปลเป็นเรื่องของการเข้าใจ
ความหมายและการถ่ายทอดความหมาย ฉะนั้น จะถ่ายทอดด้วย
รูปแบบหรือลักษณะใด ผู้แปลเป็นผู้มีอ านาจสูงสุดในการตัดสิน
เลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทของต้นฉบับและผู้รับสาร เรื่องนี้มารี
อานน์ เลเดแรร์ (Marianne Lederer) นักทฤษฎีการแปลชาว
ฝรั่งเศสได้อธิบายไว้ในบทความเรื่อง “Transcoder ou réexprimer”
ว่า
12 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแปล