Page 24 -
P. 24
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
เป็นอีกภาษาหนึ่ง เป็นขั้นตอนที่เข้าใจง่ายและสามารถยึดเป็นหลักใน
การด าเนินงาน เพราะท าให้ไม่หลงแปลผิด แปลคลาดเคลื่อนหรือ
กระท าเกินหน้าที่ของผู้แปล
ในที่นี้ ผู้เขียนขอเสนอขั้นตอนการแปลบนพื้นฐานของการ
กระท าต่อความหมายส าหรับการแปลตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมความ
พร้อมก่อนการแปลจนถึงสิ้นสุดกระบวนการทั้งหมดดังนี้
1. เตรียมความพร้อมด้วยการประเมินงานแปล จัดหาสิ่ง
สนับสนุนการแปล และค านวณเวลาที่ต้องใช้
ก่อนเริ่มงานแปลใดๆ ต้องประเมินความสามารถทางภาษา
ของต้นตลอดจนความรู้ที่เกี่ยวข้องว่าอยู่ในเกณฑ์จะแปลงานนั้นได้
หรือไม่และสามารถท าได้ตามก าหนดเวลาที่มีหรือไม่ การแปลเป็น
กิจกรรมที่มีความส าคัญและอาศัยความรับผิดชอบสูง ผู้แปลต้องรู้
จุดมุ่งหมายของการแปลงานนั้นๆ อย่างชัดเจนว่างานนั้นกระท าไป
เพื่อประโยชน์ใดและเพื่อผู้อ่านกลุ่มใด หากเป็นงานเฉพาะด้าน ผู้
แปลต้องพอมีความรู้ในด้านนั้นๆ อยู่บ้าง หรืออย่างน้อยที่สุดต้องมี
ความสามารถในการสืบค้น ควรมีคลังค าศัพท์หรือรู้แหล่งสืบค้นที่
น่าเชื่อถือ เกิดความมั่นใจว่างานแปลนั้นจะบรรลุวัตถุประสงค์คือ
สามารถเป็นที่เข้าใจของคนในวงการนั้นๆ ได้ ต้องค านวณเวลาที่ใช้
กับปริมาณงานให้เหมาะสม หากเป็นงานที่มีก าหนดเวลา ต้องเผื่อ
เวลาไว้ส าหรับการตรวจทานแก้ไข หรือเหตุการณ์นอกเหนือแผนการ
ด าเนินงานที่อาจส่งผลถึงความคืบหน้าของงาน หากเป็นงานที่ไม่มี
ก าหนดเวลา เช่นเป็นงานที่แปลทดลองหรือพัฒนาตนก็ยังต้องมีการ
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแปล 17