Page 21 -
P. 21
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
ตน เราอาจเคยได้ยินความเห็นที่ว่าผู้แปลไม่ควรมีส านวนของตนเอง
แต่ต้องถ่ายทอดภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปลโดยรักษาลีลา
ภาษาต้นฉบับไว้ให้ได้ การคิดเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็นการยาก
ในทางปฏิบัติ เพราะกระบวนการแปลเป็นกระบวนการตัดสินใจเลือก
ผู้แปลคนละคนกันย่อมตัดสินใจเลือกค าแปลในแต่ละจุดต่างกัน
ลักษณะการแปลในแต่ละจุดอาจแตกต่างกันไปเป็นรายกรณี ขึ้นกับ
ความแตกต่างของภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปล คลังค ากับลีลา
ภาษาของผู้แปล ตลอดจนประสบการณ์การจัดการกับข้อความ
ลักษณะเดียวกัน ในงานชิ้นเดียวกัน ผู้แปลคนเดียวกันอาจใช้ทั้งการ
แปลตรงตัวและการแปลเอาความในรูปแบบต่างๆ หรือระดับต่างๆ
ผสมผสานกันได้ การจะบอกว่าผู้แปลคนใดแปลตรงตัวหรือแปลเอา
ความท าได้เพียงบอกแนวโน้มในภาพรวมเท่านั้น ส่วน “ความรู้สึก”
ที่ผู้อ่านรู้สึกต่องานแปลว่างานแปลใดแปลตรงตัวหรือแปลเอาความก็
มีความสัมพันธ์กับภูมิหลังของผู้อ่านอีกว่าเคยชินกับส านวนแปลใน
ลักษณะนั้นๆ หรือไม่ ส่วนการที่ผู้อ่านจะชอบการแปลแบบตรงตัว
หรือเอาความมากกว่านั้นเป็นรสนิยมของผู้อ่าน ผู้แปลอาจปรับ
รูปแบบหรือลักษณะการแปลให้เข้ากับผู้อ่านได้ แต่ก็ไม่อาจ
ตอบสนองผู้อ่านได้ทุกคน เพราะแม้เป็นผู้อ่านหนังสือประเภท
เดียวกันก็มีความชอบที่ต่างกันไป
ฉะนั้น ผู้แปลไม่พึงกังวลว่าการแปลลักษณะใดดีกว่ากัน
หากผู้แปลมีความเข้าใจชัดเจนว่าตนก าลังแปล มีความตระหนักใน
บทบาทของ “ผู้ถ่ายทอด” หรือ “ตัวกลาง” ย่อมพยายามถ่ายทอด
14 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการแปล