Page 12 -
P. 12

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

              วัดทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน ไม่ได้วัดทักษะการแปลซึ่งเป็นทักษะที่

              ต้องอาศัยการเรียบเรียงถ้อยค าข้ามภาษาและต้องบูรณาการความรู้

              ต่างๆ ทั้งในด้านภาษาและด้านที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่แปลมาใช้ และ
              ว่ากันตามจริงแล้ว นักแปลอาชีพ (ที่ไม่ใช่ล่าม) อาจท าข้อสอบ

              มาตรฐานได้คะแนนน้อยกว่าผู้เรียนในมหาวิทยาลัยก็เป็นไปได้
              เพราะอาจท าข้อสอบการฟังไม่ทัน และโดยแนวโน้มแล้วผู้ซึ่งมีอาวุโส

              มีความรู้และประสบการณ์มากมักใช้ความคิดซับซ้อนเกินกว่าค าถาม
              ในข้อสอบ ส่วนผู้ที่สอบข้อสอบมาตรฐานได้ระดับสูงสุด หากไม่เคย

              ผ่านการฝึกฝนการแปลมาก่อน เมื่อจ าเป็นต้องแปล ก็อาจเกิดภาวะ

              “เข้าใจแต่แปลไม่ได้” ก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้นระดับภาษาตาม
              ข้อสอบมาตรฐานจึงไม่ได้สัมพันธ์กับการแปลโดยตรง

                     จากปัญหาและค าถามข้างต้น ผู้เขียนสรุปและขยายความสิ่ง

              ที่ต้องท าความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลได้ดังนี้

                     1. การแปลเป็นสิ่งใกล้ตัว มีประโยชน์ในการเรียนภาษา เป็น

              วิธีการหนึ่งที่ได้ผลในการพัฒนาตนให้เข้าใจภาษาและวัฒนธรรม
              เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในกระบวนการเรียนภาษา และเมื่อส าเร็จ

              การศึกษาแล้ว แม้จะมิได้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการแปลโดยตรง

              หากท างานเกี่ยวข้องกับภาษาจีนก็ต้องท าหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่าง
              ผู้ใช้ภาษาจีนและผู้ใช้ภาษาไทย ฉะนั้นไม่ว่าจะสนใจการแปลหรือไม่ก็

              หลีกเลี่ยงการท าหน้าที่ผู้แปลไปไม่พ้น

                     2. การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้และต้องอาศัยการฝึกฝนจึงจะ
              ท าได้ดี ความเข้าใจที่มีต่อต้นฉบับเป็นจุดเริ่มต้นที่ส าคัญของการแปล


              บทที่ 1 ค าถามที่พบบ่อยกับสิ่งที่ต้องท าความเข้าใจเกี่ยวกับการแปล                                                   5
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17