Page 11 -
P. 11
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
สื่อกลางระหว่างคนจีนกับคนไทยที่ไม่รู้ภาษาจีนได้ก็นับเป็นเรื่องน่า
เสียดายอย่างยิ่ง การละเลยการฝึกฝนการแปลจึงเป็นเรื่องที่ท าให้
ตนเองเสียโอกาสในการพัฒนาตน
ส าหรับค าถามที่ว่า “ถ้าอยากเป็นนักแปล ต้องท าอย่างไร”
ผู้เขียนในฐานะผู้สอนจะย้อนถามเสมอว่าผู้ถามต้องการแปลงาน
ประเภทใด เพราะความรู้ที่ต้องใช้ในการท าความเข้าใจต้นฉบับในงาน
แต่ละประเภทแตกต่างกัน ภาษาและส านวนที่ต้องใช้ถ่ายทอด
ความหมายในภาษาฉบับแปลแตกต่างกัน หนังสือที่นักแปลนิยาย
ต้องอ่านเพื่อพัฒนาตนย่อมแตกต่างจากหนังสือที่นักแปลงานด้าน
กฎหมายธุรกิจต้องอ่าน แม้การแปลจะมีพื้นฐานคือการเข้าใจ
ภาษาต้นฉบับและมีความสามารถในการถ่ายทอดเป็นภาษาฉบับแปล
ดีเช่นเดียวกัน แต่การสะสมคลังค าศัพท์ ส านวนและความรู้ที่
เกี่ยวข้อง ตลอดจนหลักการแปลที่พึงยึดถือปฏิบัติย่อมต้องแตกต่าง
กันตามประเภทของงานที่แปล
ส่วนค าถามที่ว่า “ต้องสอบ HSK ได้ระดับไหนจึงจะเป็นนัก
แปลได้” เป็นค าถามที่อาจจะน่าขันส าหรับนักแปลอาชีพ แต่ส าหรับผู้
ถามซึ่งเป็นผู้เรียนในระดับต้นหรือกลางนั้นเป็นเรื่องจริงจังเพราะผู้
ถามอยากทราบว่าตนเองยังห่างไกลกับเป้าหมายอีกมากเพียงใด
จากนั้นจึงจะวางแผนพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายได้ ค าถามนี้แสดงให้
เห็นว่าผู้เรียนคิดว่าระดับภาษาตามข้อสอบมาตรฐานนั้นเป็นปัจจัย
ส าคัญที่ส่งผลต่อการเป็นนักแปล ซึ่งในกรณีนี้ ต้องท าความเข้าใจ
ก่อนว่า ระดับภาษาที่วัดด้วยข้อสอบมาตรฐานนั้นเป็นภาษาทั่วไปและ
4 บทที่ 1 ค าถามที่พบบ่อยกับสิ่งที่ต้องท าความเข้าใจเกี่ยวกับการแปล