Page 9 -
P. 9

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

              นั้นไม่ใช่ความเข้าใจที่แท้จริง แต่เป็นเพียงสิ่งที่ผู้เรียนคิดว่าผู้เรียน

              เข้าใจ ปัญหาเกิดขึ้นในกระบวนการท าความเข้าใจซึ่งเป็น

              กระบวนการแรกของการแปล ซึ่งนอกจากจะมีประเด็นเรื่องของ
              ภาษา ยังมีปัญหาเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความรู้ที่

              เกี่ยวข้อง แต่หากผู้เรียนตอบได้ ก็พอจะเข้าใจได้ว่าผู้เรียนน่าจะ
              เข้าใจต้นฉบับ แต่เกิดปัญหาการเรียบเรียงภาษาและความคิดใน

              ขั้นตอนของการถ่ายทอดความหมายเป็นภาษาไทย หากให้ฝืนแปล
              ออกมา ก็จะพบว่าส านวนแปลนั้นไม่สื่อความ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา

              คือ ผู้เขียนในฐานะครูผู้สอนภาษาจีนต้องท าหน้าที่ใหม่เป็นผู้สอน

              ภาษาไทยให้ผู้เรียนชาวไทยด้วย ตั้งแต่เรื่องของสรรค า ไปถึงการ
              เรียบเรียงประโยค การใช้ค าเชื่อม การเกลาภาษาให้สละสลวย การ

              ตรวจแก้ไขงานแปล ฯลฯ

                     ส่วนค าถามเชิงบ่นของผู้ไม่สนใจการแปลที่ว่า “ไม่แปลไม่ได้
              หรือ รู้ภาษาจีนดี สื่อสารได้ก็พอแล้ว” มาจากการที่ผู้ถามมองว่าการ

              แปลเป็นเรื่องไกลตัว ไม่เห็นประโยชน์ของการแปลและไม่ได้มุ่งหมาย

              จะประกอบอาชีพเกี่ยวกับการแปลในอนาคต อันที่จริงแล้ว การแปล
              ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวผู้เรียนภาษา ในทางตรงกันข้าม เราพบการแปล

              ในฐานะวิธีหนึ่งในการสอนภาษาอยู่เสมอ ในวิชาภาษาจีนระดับพื้นฐาน
              ซึ่งผู้เรียนยังไม่มีพื้นฐาน หากเรียนภาษาแบบธรรมชาติเหมือนเด็กที่

              เป็นเจ้าของภาษาเรียน ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้เป็นสภาพแวดล้อมที่
              ใช้ภาษานั้น การเรียนจะคืบหน้าไปได้ช้ามากในขณะที่การสอนด้วยวิธี

              แปลจะท าให้ผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่เข้าใจบทเรียนได้เร็ว เมื่อรู้ภาษาจีน



              2                                  บทที่ 1 ค าถามที่พบบ่อยกับสิ่งที่ต้องท าความเข้าใจเกี่ยวกับการแปล
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14