Page 174 -
P. 174
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
เล็กน้อย คือไทยยังนิยมใช้ ขีดเรียกน้ าหนัก 100 กรัมอีกด้วย ส่วน
ภาษาจีนนั้นมีจุดที่น่าสนใจคือ ยังนิยมใช้ค าว่า จิน(斤)กับ
เหลี่ยง(两)ซึ่งเป็นหน่วยวัดน้ าหนักในมาตราโบราณอยู่ใน
ชีวิตประจ าวัน โดยจินกับเหลี่ยงนี้แต่ละยุคสมัยมีน้ าหนักไม่เท่ากัน
และในบางยุค 1 จิน มี 10 เหลี่ยง ในบางยุคมี 16 เหลี่ยง ใน
ปัจจุบันก าหนดให้ 1 จินเท่ากับ 0.5 กิโลกรัม และ 1 จินแบ่งเป็น
10 เหลี่ยง เท่ากับ 1 เหลี่ยงมีน้ าหนัก 50 กรัม ทุกวันนี้การซื้อขาย
ในประเทศจีนยังใช้จินกับเหลี่ยงอยู่อย่างแพร่หลาย การบอกน้ าหนัก
คนก็ยังใช้จินในการบอก หากต้องการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
แล้วมีค าว่าจินและ/หรือเหลี่ยงปรากฏ ถ้าเป็นภาษาธุรกิจหรือการใช้
งานทั่วไปอาจเลือกแปลงค่าเป็นระบบเมตริกได้เลยเพื่อความสะดวก
ของผู้อ่าน แต่หากเป็นงานวรรณกรรมซึ่งอาจต้องการรักษาลีลา
ภาษาต้นฉบับให้ได้บรรยากาศความเป็นจีน ก็สามารถทับศัพท์เป็น
จินและ/หรือเหลี่ยงได้แล้วให้เชิงอรรถหรือค าอธิบายไว้
มาตราตวง จีนมีมาตราตวงและหน่วยวัดปริมาตรที่ละเอียด
มาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ละยุคสมัยไม่เท่ากัน หน่วยวัดปริมาตร
โบราณอย่าง เซิง(升)นั้นยังมีใช้ในปัจจุบัน แต่ได้ปรับให้ 1 เซิง
(升)เท่ากับ 1 ลิตร(公升)ตามระบบเมตริก ส่วนหน่วยวัด
ปริมาตรโบราณอื่นๆ เช่น โต่ว(斗 เท่ากับ 10 เซิง)ตั้นหรือสือ
(石 เท่ากับ 10 โต่ว)ไม่เป็นที่นิยมใช้แล้ว หน่วยวัดปริมาตรที่ใช้
บ่อยในปัจจุบันมาจากมาตราเมตริก ได้แก่ มิลลิลิตร(毫升)ซึ่ง 1
มิลลิลิตรหรือ 1 ซีซีมีค่าเท่ากับ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร และ 1,000
บทที่ 7 การแปลประโยคที่มีตัวเลข เวลาและมาตราชั่ง ตวง วัด 167