Page 173 -
P. 173

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

              การแปลประโยคที่มีมาตราชั่ง ตวง วัด


                     แม้ปัจจุบันภาษาจีนและภาษาไทยจะมีการใช้มาตราชั่ง ตวง
              วัด ตามระบบสากลอยู่มาก แต่ก็มีส่วนที่ใช้ระบบแบบโบราณอยู่ ซึ่ง

              ผู้แปลมีทางเลือกสองทางคือ แปลงเป็นมาตราที่นิยมในภาษาฉบับ
              แปลโดยตรง หรือคงมาตราเดิมในภาษาต้นฉบับและวงเล็บมาตราใน

              ภาษาฉบับแปลไว้ ผู้แปลต้องค้นหาค่าของหน่วยชั่ง ตวง วัด นั้นๆ
              แล้วตัดสินใจว่าจะใช้แบบใด เนื่องจากมาตราชั่ง ตวง วัด ละเอียด

              และซับซ้อนมาก ผู้เขียนจึงจะขอยกตัวอย่างมาเท่าที่พบบ่อยเพื่อเป็น

              แนวทางในการตัดสินใจเลือกแปลเท่านั้น ผู้แปลสามารถน าแนวทางที่
              เสนอไปปรับใช้กับกรณีอื่นๆ ต่อไป


                     มาตราชั่ง ปัจจุบันจีนปรับมาใช้มาตราชั่งน้ าหนักแบบสากล
              คือระบบเมตริกเป็นหลัก หน่วยที่นิยมใช้คือ 毫克 (มิลลิกรัม)

              克 (กรัม) 公斤  (กิโลกรัม) 吨  (ตัน) เช่นเดียวกับในไทย ผู้แปล
              ควรมีความรู้พื้นฐานว่า 1 กรัม เท่ากับ 1,000 มิลลิกรัม 1 กิโลกรัม

              เท่ากับ 1,000 กรัม และ 1 ตัน เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม ส่วนหน่วย
              อื่นๆ เช่น เซนติกรัม (10 มิลลิกรัม) เดซิกรัม (100 มิลลิกรัม)

              เดคากรัม (10 กรัม) เฮกโตกรัม (100 กรัม) นั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยม

              ใช้ในชีวิตประจ าวัน แต่ถ้ากรณีพบในต้นฉบับจริงๆ ก็ต้องรู้จักเปิดหา
              และเทียบให้ถูกต้อง การแปลมาตราน้ าหนักระบบเมตริกจาก

              ภาษาจีนเป็นภาษาไทยไม่ใช่เรื่องยาก เพราะปัจจุบันภาษาไทยไม่ได้
              ใช้มาตราชั่งน้ าหนักไทย อันได้แก่ ไพ เฟื้อง สลึง บาท ต าลึง ชั่ง

              หาบ แล้ว แต่ใช้ระบบเมตริกเช่นเดียวกัน แต่จะมีส่วนที่แตกต่างกัน


              166                                    บทที่ 7 การแปลประโยคที่มีตัวเลข เวลาและมาตราชั่ง ตวง วัด
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178