Page 168 -
P. 168

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

                     5. การวางต าแหน่งของเวลาในประโยคภาษาจีนและ

              ภาษาไทยแตกต่างกัน  โดยปกติภาษาไทยจะวางเวลาไว้หน้าหรือ

              หลังประโยค เช่น “เมื่อวานฉันไปหอสมุด” หรือ “ฉันไปหอสมุดเมื่อ
              วาน”  ในขณะที่ภาษาจีนจะวางเวลาไว้หน้าหรือหลังประธาน คือ

              昨天我去了图书馆。หรือ 我昨天去了图书馆。ผู้เริ่มเรียน
              ภาษาจีนมักจะพลาดด้วยการเอาเวลาไปวางไว้ท้ายประโยคเหมือน

              ภาษาไทย เช่น “วันนี้ฉันไม่กลับบ้าน จะกลับพรุ่งนี้” วางผิดเป็น
              我今天不回学校,再回明天。ซึ่งตามไวยากรณ์ที่ถูกต้องคือ

              我今天不回学校,明天再回。เมื่อเรียนภาษาจีนถึงระดับกลาง

              และสูง ปัแหาจะกลับกัน คือ เมื่อพูดหรือเขียนภาษาจีน วาง
              ต าแหน่งของเวลาไว้หน้าหรือหลังประธาน แต่เมื่อแปลภาษาจีนเป็น

              ภาษาไทย กลับติดความเคยชิน โดยน าเวลามาวางไว้หลังประธาน
              เช่น “ฉันวันนี้ไม่กลับบ้าน พรุ่งนี้ค่อยกลับ” ซึ่งควรจะแปลวา “วันนี้

              ฉันไม่กลับบ้าน พรุ่งนี้ค่อยกลับ”

                     6. ในภาษาจีนมีการน าเวลามาขยายค านาม เช่น 晚上八点

              的电影、下午两点的会议、二十岁的我 ผู้แปลมักไม่แน่ใจว่า
              จะจัดการอย่างไร เพราะในภาษาจีนใช้เพียงค าว่า 的 เป็นค าช่วย

              ระหว่างบทขยายนามกับค านาม จะใช้ค าว่า “ของ” ก็ไม่ถูกต้อง
              เพราะไม่ได้แสดงความเป็นเจ้าของ การแปลค านามที่ขยายด้วยเวลา

              ลักษณะนี้ต้องมีการเติมข้อความที่แสดงถึงจุดเริ่มต้นเวลาลงไป เช่น
              “ภาพยนตร์รอบสองทุ่ม” “การประชุมซึ่งเริ่มต้นเวลาบ่ายสอง” “ฉัน

              ซึ่งขณะนั้นอายุยี่สิบปี”



              บทที่ 7 การแปลประโยคที่มีตัวเลข เวลาและมาตราชั่ง ตวง วัด                                    161
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173