Page 167 -
P. 167

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

              สับสน และในกรณีของเดือน 七月 ต้องแปลว่าเดือนกรกฎาคม มิใช่

              แปลว่า เดือน 7 เพราะจะท าให้เข้าใจผิดว่าเป็นเดือนทางจันทรคติ

              ในทางกลับกัน หากในภาษาจีนระบุชัดว่าเป็น 农历(ปฏิทินเกษตร)
              ก็ต้องแปลเดือนเป็นตัวเลข เช่น เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม มิใช่

              แปลว่ามกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ฯลฯ

                     3.  ภาษาจีนและภาษาไทยมีการน าค าว่าเช้าสายบ่ายเย็นไป
              ประกอบกับเวลาเช่นเดียวกับไทย แต่มีจุดต่างกันอยู่มาก เส้นแบ่ง

              ของเวลาไม่ตรงกันว่าเวลาใดควรเรียกว่าเช้าสายบ่ายเย็นกันแน่

              ตัวอย่างเช่น เวลา 16.00 น. คือเวลา 下午四点 ในภาษาจีน ปกติ
              下午 แปลว่าบ่าย แต่ภาษาไทยไม่เรียกว่าบ่ายสี่โมง แต่จะใช้ว่าสี่โมง

              เย็น เวลา 20.45 น.คือ 晚上八点三刻 ในภาษาจีน ภาษาไทย
              เรียกว่าสองทุ่มสี่สิบห้านาที ไม่สามารถแปลว่าตอนค่ าแปดโมงสี่สิบ

              ห้านาที ฉะนั้น การแปลการน าช่วงเวลาไปประกอบกับเวลาเป็น
              นาฬิกา ต้องยึดความเคยชินในการพูดของภาษาฉบับแปล ไม่ใช่แปล

              ตรงจากภาษาต้นฉบับ

                     4.  ภาษาจีนเรียงล าดับเวลาจากใหแ่ไปหาเล็ก ในขณะที่

              ภาษาไทยเรียงล าดับจากเล็กไปหาใหแ่ การแปลประโยคภาษาจีนที่มี

              ค าบอกเวลาหลายระดับเป็นภาษาไทยต้องเรียงล าดับเวลาตาม
              ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาฉบับแปล เช่น1977 年 3 月 21 日星期一

              แปลเป็น “วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2520”







              160                                    บทที่ 7 การแปลประโยคที่มีตัวเลข เวลาและมาตราชั่ง ตวง วัด
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172