Page 166 -
P. 166

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

              พื้นฐานที่ต้องใส่ใจในการแปลประโยคที่มีค าบอกเวลาจากภาษาจีน

              เป็นภาษาไทย ดังนี้

                     1. ภาษาจีนปัจจุบันใช้ปีคริสตศักราช ในขณะที่ภาษาไทยใช้ปี

              พุทธศักราช โดยทั่วไป การแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย ควรแปลง
              เป็นปีพุทธศักราชเพื่อให้เข้าใจง่าย แต่การไม่แปลงไม่ถือเป็นเรื่องผิด

              เพราะคนไทยคุ้นเคยกับปีคริสตศักราชพอสมควร (ในขณะที่การ
              แปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนต้องแปลงเป็นคริสตศักราชเสมอเพราะ

              คนจีนไม่คุ้นกับพุทธศักราช) การเลือกแปลงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ

              ประเภทของงานและกลุ่มผู้อ่าน งานบางประเภท เช่น งานที่
              เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์โลก การคงไว้ซึ่งปีคริสตศักราชจะท าให้

              ผู้อ่านเชื่อมโยงเหตุการณ์ได้ไวกว่า ในทางตรงกันข้าม ถ้างานนั้น
              เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทย การแปลงเป็นคริสตศักราชจะช่วยให้

              ผู้อ่านเชื่อมโยงกับยุคสมัยได้ดีกว่า หรือถ้างานนั้นมีความส าคัแกับ
              ทั้งเหตุการณ์สากลและผู้แปลต้องการให้ผู้อ่านเชื่อมโยงกับเหตุการณ์

              ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย อาจใส่ปีคริสตศักราชและพุทธศักราชไว้คู่

              กัน เช่น ปี ค.ศ.1937 / พ.ศ.2509

                     2. ชื่อเรียกเดือนและวัน ปัจจุบันภาษาจีนเรียกเดือน

              ตามล าดับ 1-12 และเรียกวันโดยนับจากวันจันทร์เป็น 1 ไล่ถึงวัน
              เสาร์เป็น 6 คือ 星期一 ถึง 星期六 แล้วจึงใช้ค าว่า 星期日 หรือ

              星期天 เรียกวันอาทิตย์ เมื่อแปลภาษาจีนเป็นไทย ต้องแปลงเป็น
              ชื่อเรียกเดือนในภาษาไทยจาก มกราคมถึงธันวาคม และจากวัน

              จันทร์ถึงวันอาทิตย์ ไม่เผลอแปลเป็นตัวเลขเพราะจะท าให้ผู้อ่าน


              บทที่ 7 การแปลประโยคที่มีตัวเลข เวลาและมาตราชั่ง ตวง วัด                                    159
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171