Page 106 -
P. 106
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
ประโยคที่ 4 他们吃过晚饭回房休息去了。
ประโยคนี มีลักษณะคล้ายประโยคที่ 3 กริยาเรียงแสดงความ
คล้อยตามกันในเรื่องล าดับเวลา จ าเป็นต้องเติมค าช่วยกริยา เช่น
“แล้ว” “แล้วก็” ลงไปเพื่อให้ประโยคสละสลวย นอกจากนั นยังต้องมี
การปรับค าว่า “ไป” มาไว้หน้ากริยาตัวสุดท้าย แปลได้ว่า “พวกเขา
กินอาหารเย็นแล้วก็กลับห้องไปพักผ่อน” คือปรับให้กลายเป็น
ประโยคความรวม
ประโยคที่ 5 我没有资格参加这次考试。
ประโยคนี เป็นประโยคกริยาเรียงชนิดที่กรรมของมีหรือไม่มี
เป็นนามธรรม กรรมของมีหรือไม่มีเป็นผู้รับการกระท าของกริยาหลัง
กริยาวลีที่ตามหลังมาสามารถเปลี่ยนมาเป็นบทขยายนามของกรรมนี
ได้ เช่น เปลี่ยนเป็น 我没有参加这次考试的资格。โดยทั่วไป
ประโยคลักษณะนี สามารถแปลเรียงตรงๆ ได้เป็น “ฉันไม่มีคุณสมบัติ
เข้า (ร่วม) (การ) สอบครั งนี ” แต่ถ้าจะเพิ่มเติมค าว่า “ที่จะ” “ใน
การ” ลงไปก็ได้เช่นกัน เช่น “ฉันไม่มีคุณสมบัติในการเข้า (ร่วม)
(การ) สอบครั งนี ” หรือ “ฉันไม่มีคุณสมบัติที่จะเข้า (ร่วม) (การ)
สอบครั งนี ” สังเกตว่าประโยคภาษาจีนและภาษาไทยคล้ายกันมาก
คือสามารถใช้กริยาเรียงตรงๆ ได้ และสามารถท าให้กลายเป็นบท
ขยายนามได้ เพียงแต่บทขยายนามในภาษาจีนวางหน้าค าหลัก
ในขณะที่ภาษาไทยวางหลังค าหลักเท่านั น
บทที่ 5 การแปลประโยคที่มีลักษณะพิเศษ 99